Football Sponsored

ระวังล่ม!อดีตผอ.ฟุตบอลหวั่นอาร์เซน่อลทำพลาดหวนใช้แนวทางยุคเวนเกอร์

Football Sponsored
Football Sponsored

ราอูล ซานเยฮี อดีตผอ. ฟุตบอล อาร์เซน่อล เป็นห่วงกับการที่ “ไอ้ปืนใหญ่” กลับไปใช้โมเดลที่ให้ผู้จัดการทีมมีอำนาจส่วนใหญ่ในการตัดสินใจเรื่องต่างๆ หลังจากตอนแรก ซานเยฮี เคยใช้แนวทางที่แบ่งอำนาจการทำทีมให้คน 4 ตำแหน่ง เพื่อที่กุนซือจะได้มีสมาธิกับการทำทีมอย่างเต็มที่

ราอูล ซานเยฮี อดีตผู้อำนวยการฟุตบอลของ อาร์เซน่อล แสดงความกังวลว่า “ไอ้ปืนใหญ่” อาจจะทำพลาดที่ให้ มิเกล อาร์เตต้า ผู้จัดการทีมเป็นคนกำหนดแนวทางแทบทุกอย่างในการทำทีม ซึ่งเป็นโมเดลการทำทีมแบบเดียวกับสมัยของ อาร์แซน เวนเกอร์

ซานเยฮี เข้ามาทำงานกับ อาร์เซน่อล เมื่อช่วงปี 2018 ภายหลังเคยอยู่กับ บาร์เซโลน่า เป็นเวลาถึง 14 ปี ซึ่งตอนนั้นเขานำโมเดลการบริหารทีมแบบใหม่มาใช้กับสโมสร นั่นคือการแบ่งอำนาจการทำทีมให้ 4 คนในบริบทที่เท่าๆ กัน แบ่งเป็น อาร์เตต้า ในฐานะเฮดโค้ช, เอดู ในตำแหน่งผู้อำนวยการด้านเทคนิค, ฮุสส์ ฟาห์มี่ กับบทบาหัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการด้านฟุตบอล และ แพร์ แมร์เตซัคเกอร์ ในฐานะผู้จัดการประจำอะคาเดม่

อย่างไรก็ตาม ไอเดียดังกล่าวกลับได้ผลลัพธ์ไม่ดีเท่าที่คาดหวังกันเอาไว้จนทำให้มันล่มลงหลังจากเพิ่งใช้แผนงานนั้นได้เพียงไม่กี่เดือน และนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา อาร์เซน่อล ก็ใช้แนวทางที่ให้ อาร์เตต้า ได้สิทธิ์กำหนดหลายอย่างมากกว่าคนอื่นๆ

ซานเยฮี ซึ่งบอกลา อาร์เซน่อล ในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 นั้น เผยว่า “ในโมเดลของเราน่ะมันมีคนที่สำคัญ 4 คน นั่นคือเฮดโค้ช, ผู้อำนวยการกีฬา, ผู้ปฏิบัติการด้านฟุตบอล และผู้จัดการในระดับอะคาเดมี่ ทั้ง 4 คนที่ว่านี้จำเป็นต้องประสานงานกันให้ดีมากๆ”

“ตอนแรก อาร์เซน่อล ตัดสินใจที่จะก้าวข้ามจากยุคของ อาร์แซน เวนเกอร์ ซึ่งเป็นกุนซือที่ทำทุกอย่างด้วยตัวเองแล้ว ที่จริง อูไน (เอเมรี่) เป็นโค้ชที่เก่งนะ แต่สำหรับ อาร์เซน่อล มันเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ที่ต้องได้สิทธิ์เล่น แชมเปี้ยนส์ ลีก และการแพ้ เชลซี ในนัดชิงชนะเลิศของ ยูโรปา ลีก ก็ทำให้เรามีสถานการณ์ที่ยากลำบาก ซึ่งนั่นก็ส่งผลให้ปีที่ 2 ของ อูไน มันยุ่งยากจนเหมือนตกอยู่ในนรกตามไปด้วย”

“พวกเขาเคยใช้โมเดลที่มีคนๆ เดียวกุมอำนาจส่วนใหญ่ภายในทีม ผมไม่ได้ตั้งใจจะดูหมิ่น อาร์แซน หรอกนะ สิ่งที่เขาเคยทำได้กับ อาร์เซน่อล มันวิเศษมากๆ และอาจจะเป็นแนวทางที่ดีที่สุดในตอนนั้นก็ว่าได้ แต่คุณต้องพัฒนาไปข้างหน้า และนั่นคือสิ่งที่เกิดขึ้น”

“ผมไม่เห็นด้วยกับการที่หลายสโมสรเรียกโค้ชทีมชุดใหญ่ว่า -ผู้จัดการทีม- โค้ชทีมชุดใหญ่ก็คือโค้ชทีมชุดใหญ่ แค่นั้นก็พอแล้ว ทุกวันนี้ปริมาณของงานที่ต้องทำมันเยอะเกินไป และผมต้องการให้เขา (โค้ชทีมชุดใหญ่) ได้มีสมาธิกับทีมชุดใหญ่อย่างเต็มที่”

“ตอนนี้มันกลายเป็นว่าพวกเขาทรยศโมเดลแบบนั้นนิดหน่อย การกลับไปใช้แนวทางที่ให้ผู้จัดการทีมมีอำนาจสูงสุดน่ะมันเป็นความผิดพลาด แต่มันก็เป็นความผิดพลาดที่พวกเขาเลือกเองน่ะนะ ถ้าเลือกได้น่ะผมจะไม่ยอมให้มันเกิดเรื่องแบบนั้นขึ้นแน่ๆ แต่ก็ช่างมันเถอะ จนถึงตอนนี้มันไปได้สวยกับพวกเขานี่นะ”

ที่มาของภาพ : gettyimages

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.