Football Sponsored

ใครจะเป็นทายาท? ธีรศิลป์ แดงดา

Football Sponsored
Football Sponsored

มาโน่ โพลกิ้ง กุนซือทีมชาติไทย ได้ทำการประกาศเรียกนักเตะสู้ศึกฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48 จำนวน 23 ราย โดยครั้งนี้จัดการแข่งขันที่สนามสมโภช 700 ปี จังหวัดเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 22-25 ก.ย.65 มี 4 ทีมเข้าร่วมการแข่งขันประกอบไปด้วย ไทย(เจ้าภาพ), ตรินิแดดฯ, ทาจิกิสถาน และ มาเลเซีย

โดยเกมแรกวันที่ 22 ก.ย.65 ตรินิแดดฯ พบ ทาจิกิสถาน และ ไทย พบ มาเลเซีย ในส่วนของกองหน้าทีมชาติไทย ชุดนี้ไม่มีชื่อของ ธีรศิลป์ แดงดา โดย มาโน่ เองก็ออกมาอธิบายเหตุผลว่า ทำไม ธีรศิลป์ จึงไม่มีชื่อกับทีมชุดนี้ สาเหตุคือ ธีรศิลป์ อายุมากขึ้นบางครั้งต้องให้เวลาพักบ้าง และจำเป็นจะต้องเพิ่มเติมสายเลือดใหม่เข้ามา 

โดยในลิสต์รายชื่อ 23 คน กองหน้าที่ถูกเรียกมาติดทีมมี 3 คน ประกอบไปด้วย ศุภชัย ใจเด็ด, ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา 2 แข้งจากสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ ธีรศักดิ์ เผยพิมาย ดาวรุ่งที่อัพคลาสจากสโมสรการท่าเรือ เอฟซี ไม่ว่าผลงานของทั้ง 3 รายจะออกมาเป็นอย่างไร? ในฟุตบอลรายการนี้ แต่เป็นการต่อยอดการสร้างทีมสู่อนาคตที่จะขึ้นมาทดแทนนักเตะรุ่นพี่และลงเล่นเคียงบ้าเคียงไหล่ นี่คือสถิติของทั้ง 3 กองหน้าทีมชาติไทยชุดศึกฟุตบอลชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 48  

สถิติ 3 กองหน้าทีมชาติไทยชุดคิงส์คัพ ครั้งที่ 48 

ชื่อ อายุ

ส่วนสูง

เท้าข้างถนัด ภูมิลำเนา สถิติในลีก 2022-23 สถิติทีมชาติชุดใหญ่ หมายเหตุ
ศุภชัย ใจเด็ด
23 ปี
185 ซม.
ขวา
ปัตตานี
6 นัด 5 ประตู 1 แอสซิสต์
26 นัด 5 ประตู
หน้าเป้า,หน้าต่ำ
ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา
20 ปี
173 ซม.
ขวา
ศรีสะเกษ
6 นัด 3 ประตู 2 แอสซิสต์
7 นัด 3 ประตู
หน้าเป้า,ริมเส้นซ้าย,ขวา
ธีรศักดิ์ เผยพิมาย
19 ปี
182 ซม.
ขวา
นครราชสีมา
5 นัด 2 ประตู  2 แอสซิสต์
หน้าเป้า,ริมเส้นซ้าย,ขวา
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.