Football Sponsored

Exclusive! ความฝันของ “วิชัย-อัยยวัฒน์” กับ Seagrave สนามซ้อม-อะคาเดมี ฟุตบอลระดับโลกมูลค่า 4,000 ล้าน ที่เลสเตอร์ ซิตี้ [ตอนที่ 1]

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ในช่วงเปิดฤดูกาลพรีเมียร์ลีก 2022/23 แม้ว่าเลสเตอร์ ซิตี้ เจ้าของฉายา “จิ้งจอกสยาม” อดีตแชมป์ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2015/16 และแชมป์เอฟเอ คัพ 2021 จะตกอยู่ในภาวะยากลำบากด้วยผลงานอันทุลักทุเล ตามวิถีแห่งเกมฟุตบอลที่ทุกอย่างมีขึ้นมีลง แต่มีสิ่งหนึ่งที่ยังไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปเลยก็คือ ความหลงใหล หลงรักในกีฬาฟุตบอลของครอบครัวศรีวัฒนประภา

“จุดมุ่งหมายเบื้องต้นของพวกเราเป็นจุดมุ่งหมายในระยะยาว ในการสร้างสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้อย่างยั่งยืน และมีความคงเส้นคงวาในพรีเมียร์ลีก”ท่านประธานวิชัย ศรีวัฒนประภา หรือที่แฟนๆ และชาวเลสเตอร์ ซิตี้ เรียกกันติดปากว่า “เดอะ บอส (The Boss)” ผู้ล่วงลับ เคยกล่าวไว้เมื่อช่วงต้นฤดูกาล 2018/19


นับตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งครอบครัวศรีวัฒนประภาเข้ากุมบังเหียน “สโมสรเลสเตอร์ ซิตี้” จนถึงวันนี้เป็นเวลา 12 ปีพอดิบพอดีแม้ท่านประธานวิชัย จะจากไปแล้วจาก แต่บุตรชายผู้ปลุกปั้นเลสเตอร์ร่วมกับคุณพ่อ คุณอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ก็ยังคงสืบสานเจตนารมย์ของ “เดอะบอส (The Boss)” ไว้อย่างแน่วแน่

“ช่วง 10 ปีที่ผ่านมาสโมสรแห่งนี้ก้าวหน้ามาไกลมาก แต่ในการก้าวไปในอนาคตข้างหน้าอันยาวไกล สิ่งนี้ถือจะเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ที่สุด สนามซ้อมแห่งใหม่เป็นความฝันที่ใช้เวลาสร้างสรรค์อันยาวนาน ดังนั้นผมจึงถือเป็นความภูมิใจอย่างยิ่งที่พวกเราทำมันสำเร็จ สนามซ้อมซีเกรฟ (Seagrave) จะเป็นส่วนประกอบสำคัญในการดำเนินงานของสโมสรแห่งนี้ไปอีกหลายยุคหลายสมัยที่จะมาถึง …” คุณต๊อบ อัยยวัฒน์เล่าและว่า

“ในการลงทุนในสโมสรแห่งนี้ สนามซ้อมแห่งใหม่ถือว่ามีความสำคัญที่สุด มันคือการลงทุนกับผู้เล่นปัจจุบัน และผู้เล่นในอนาคตของพวกเรา ด้วยการเอาสาธารณูปโภคที่ดีที่สุดในโลก เข้ามาใส่ในสภาพแวดล้อม ในปัจจุบัน ซึ่งหวังว่าจะช่วยยกระดับผู้เล่น และทีมสตาฟไปอีกระดับหนึ่ง”


ถามว่าก่อนหน้านี้ นักเตะและทีมสตาฟโค้ชของเลสเตอร์ ซิตี้ ฝึกซ้อมกันที่ไหน?

แรกเริ่มเดิมที นักเตะเลสเตอร์ไม่มีสนามฝึกซ้อมอย่างเป็นทางการ โดยปกติผู้เล่นก็จะซ้อมกันในสนามแข่ง หรือ บนลานจอดรถของสนามแห่งเก่าคือ ฟิลเบิร์ต สตรีท (Filbert Street; สนามเหย้าในอดีตของสโมสรก่อนย้ายมาที่สนามคิง เพาเวอร์ ในปัจจุบัน) หรือไม่ก็ลานพักผ่อนหย่อนใจหลังเมนสแตนด์ของสนาม หรือ ในบางครั้ง บางโอกาส ก็ไปใช้สนามซ้อมของสโมสร หรือ หน่วยงานอื่น ๆ บ้าง จนกระทั่งเดือนพฤศจิกายน 2506 (ค.ศ.1963) สโมสรก็ซื้อที่ดินต่อจากบริษัทรองเท้า Messrs Stead and Simpson มาทำสนามฝึกซ้อมที่ เบลวัวร์ ไดรฟ์ (Belvoir Drive) ด้วยเงิน 17,000 ปอนด์ (หรือคิดเป็นมูลค่าราว 300,000 ปอนด์ในปัจจุบัน)

อนึ่ง ในตอนแรกสโมสรเลสเตอร์ ตกลงว่าจ้างคุณแมทธิว คนดูแลสนามดั้งเดิมต่อจากบริษัทรองเท้า Messrs Stead and Simpson ด้วยค่าจ้างเพียง 12 ปอนด์ต่อสัปดาห์ และซื้อเครื่องตัดหญ้า และอุปกรณ์ในการดูแลสนามด้วยเงินเพียง 275 ปอนด์เท่านั้น


กระนั้น สนามฝึกซ้อม “เบลวัวร์ ไดรฟ์” กลับ สร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงให้กับเลสเตอร์ ซิตี้ แบบทันทีทันใด โดยในปีถัดมา ปี 2507 (ค.ศ.1964) เลสเตอร์ ซิตี้สามารถก้าวไปหยิบแชมป์แรกในประวัติศาสตร์ คือ “ลีกคัพ” มาประดับสโมสรได้เป็นผลสำเร็จ ด้วยชัยชนะเหนือสโตค ซิตี้

แน่นอนว่านอกจากแชมป์ลีกคัพในปี 2507 (ค.ศ.1964) แล้ว สนามฝึกซ้อมที่เบลวัวร์ ไดร์ฟ ย่อมมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในความสำเร็จที่ผ่าน ๆ มาตลอดเวลากว่าครึ่งศตวรรษของเลสเตอร์ ไม่ว่าจะเป็น แชมป์พรีเมียร์ลีก 1 สมัย, เอฟเอ คัพ 1 สมัย, ลีกคัพ 3 สมัย หรือ แชร์ริตี้ชิลด์/คอมมูนิตี้ชิลด์อีก 2 สมัย (ไม่นับรวมกับแชมป์ลีกอื่นๆ อีกหลายต่อหลายสมัย)


แต่หลังจากใช้สนามฝึกซ้อมที่เบลวัวร์ ไดรฟ์ มาเป็นเวลายาวนานถึง 56 ปี ผ่านจุดสูงสุดของความสำเร็จมาเกือบทั้งหมดแล้ว ปลายปี 2563 (ค.ศ.2020) ช่วงคริสต์มาส อีฟ ทีมชุดใหญ่ของเลสเตอร์ก็ได้ย้ายมาทำการซ้อมที่สนามแห่งใหม่ที่ซีเกรฟ ซึ่งใช้เวลาก่อสร้างราว 18 เดือน บนพื้นที่กว่า 180 เอเคอร์ หรือกว่า 455 ไร่ โดยอยู่ห่างจากสนามฝึกซ้อมเดิมคือ เบลวัวร์ ไดร์ฟ ไปทางทิศเหนือราว 30 กิโลเมตร และ ห่างจากสนามคิง เพาเวอร์ สเตเดียม รังหลักของสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้ ไปทางทิศเหนือราว 23 กิโลเมตร เช่นเดียวกัน

คุณต๊อบ อัยยวัฒน์ กล่าวต่อว่า ด้วยมูลค่าการลงทุนกว่า 100 ล้านปอนด์ (ราว 4,160 ล้านบาท) สนามฝึกซ้อมซีเกรฟ ณ เวลานี้ถือเป็นสนามซ้อมที่ทันสมัยที่สุดในยุโรป ด้วยสาธารณูปโภค และอุปกรณ์ที่ดีที่สุดในโลก อย่างไรก็ตาม สนามฝึกเดิมคือเบลวัวร์ ไดร์ฟ เราก็ยังจะถูกใช้งานอยู่ เพราะจะเป็นที่ฝึกซ้อมของทีมฟุตบอลหญิงของเลสเตอร์ (Leicester City W.F.C.) ซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.2004 โดยในปีที่แล้วเพิ่งได้แชมป์ FA Women’s Championship ประจำฤดูกาล 2020/21 และตอนนี้ลงแข่งใน ซูเปอร์ลีก (FA Women’s Super League) ซึ่งเป็นลีกสูงสุดของฟุตบอลหญิงในอังกฤษ


เดือนกันยายน 2565 ทีมข่าว MGR Online ถือเป็นนักข่าวชุดแรกของไทยที่มีโอกาสได้สัมผัส “ซีเกรฟ” สนามฝึกซ้อมระดับโลก มูลค่ากว่าร้อยล้านปอนด์ ที่ยิ่งใหญ่ งดงาม และอลังการ แต่ที่สำคัญไปกว่านั้นสถานที่แห่งนี้ อบอวลไปด้วยร่องรอยของความทรงจำ ความรัก และความฝันของ คุณวิชัย คุณอัยยวัฒน์ และครอบครัวศรีวัฒนประภา ต่อกีฬาฟุตบอลอย่างไม่เสื่อมคลาย

กรุณาติดตามตอนต่อไป >> ความฝันของ “วิชัย-อัยยวัฒน์” กับ Seagrave สนามซ้อม-อะคาเดมี ฟุตบอลระดับโลกมูลค่า 4,000 ล้าน ที่เลสเตอร์ ซิตี้ [ตอนที่ 2]


Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.