Football Sponsored

เยี่ยมชมสนามฝึกซ้อมสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ แห่งใหม่ “ซีเกรฟ”

Football Sponsored
Football Sponsored

วันอาทิตย์ ที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2565, 09.00 น.

เยี่ยมชมสนามฝึกซ้อมสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ แห่งใหม่ “ซีเกรฟ”

เมื่อวานนี้คณะสื่อมวลชนได้มีโอกาสแวะเยี่ยมชมสนามฝึกซ้อมสโมสรเลสเตอร์ ซิตี้แห่งใหม่ที่ ‘ซีเกรฟ’ ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของเลสเตอร์เชียร์ สนามแห่งนี้เริ่มก่อสร้างขึ้นในช่วงฤดูใบไม้ผลิปี 2019 (พ.ศ. 2562) ซึ่งแต่เดิมเป็นที่ตั้งของสนามกอล์ฟพาร์ค ฮิลล์ ที่นี่นับเป็นการลงทุนครั้งสำคัญของสโมสรฯ และครอบครัวศรีวัฒนประภา ตั้งแต่เข้าซื้อกิจการสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ เมื่อปี 2010 (พ.ศ. 2553)

ซีเกรฟนับเป็นสนามฝึกซ้อมระดับเวิลด์คลาส และศูนย์กีฬาที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของโลกบนพื้นที่กว่า 180 เอเคอร์ หรือ 455 ไร่ มูลค่าการลงทุนมากกว่า 4000 ล้านบาท ทั้งนี้ สโมสรฯ ได้ย้ายไปใช้สนามฝึกซ้อมแห่งใหม่ในช่วงปลายเดือนธันวาคม ปี 2020 (พ.ศ. 2563) เป็นต้นมา

สนามฝึกซ้อมแห่งใหม่ซึ่งได้รับจัดอันดับให้มีความยอดเยี่ยมระดับท็อป5 ในเวทีพรีเมียร์ชิพของอังกฤษแห่งนี้ ประกอบไปด้วย

1. อาคาร วิชัย ศรีวัฒนประภา เป็นศูนย์กลางหลักของศูนย์ฝึกซ้อม ซึ่งตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติให้กับอดีตประธานสโมสรฯ ซึ่งเป็นบุคคลสำคัญที่สุดของสโมสรฯ ถือเป็นวิสัยทัศน์ที่สำคัญของคุณวิชัย ที่มีต่อสโมสร ซึ่งปัจจุบันได้รับ การสานต่อโดยคุณอัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา ภายในอาคารมีสิ่งอำนวยความสะดวกครบครันสำหรับทีมฟุตบอลชาย สำนักงาน ที่พัก ห้องอาหาร และห้องสันทนาการของทีมชุดใหญ่ มีระเบียงที่มองเห็นวิวที่สวยงามของสนามฝึกซ้อมของทีมชุดใหญ่

2. คิง เพาเวอร์ เซ็นเตอร์ ศูนย์ที่มีสถาปัตยกรรมรูปโดมที่โดดเด่นตัดกับภูมิทัศน์ที่สวยงาม พร้อมสนามหญ้าเทียมในอาคาร รวมถึงศูนย์อำนวยการสื่อมวลชน ห้องแถลงข่าว ห้องถ่ายทอดสด และพื้นที่สันทนาการ

3. สนามแข่ง 1 สนามแข่งขันย่อยที่จุผู้ชมได้ถึง 499 ที่นั่ง ใช้สำหรับการแข่งขัน เอฟเอ ยูธ คัพ และพรีเมียร์ลีก 2

4. สนามฝึกซ้อม 21 สนาม แบ่งเป็นสนามฟุตบอลขนาดมาตรฐาน 14 สนาม

5. สนามกอล์ฟส่วนตัว แบบ 9 หลุม

6. ระบบวิทยาศาสตร์การกีฬาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย

7. ศูนย์ฟิตเนสและระบบวารีบำบัดเพื่อฟื้นฟูร่างกาย (Hydrotherapy)

8. สปอร์ต เทิร์ฟ อะคาเดมี่ (Sports Turf Academy: STA) ศูนย์วิจัย และศูนย์การเรียนรู้ เพื่อศึกษาและพัฒนานวัตกรรมการจัดการสนามหญ้าสำหรับการแข่งขัน สำหรับทีมงานมืออาชีพ และผู้เชี่ยวชาญด้านพื้นที่สนามกีฬาจากทั่วโลก

ปัจจุบันสนามฝึกซ้อมของสโมสรฟุตบอลเลสเตอร์ ซิตี้ แห่งใหม่ ซีเกรฟ เป็นบ้านหลังใหม่ของนักเตะทีมชาย รวมถึงฟุตบอลอะคาเดมี่ที่เริ่มร้บนักเตะตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ส่วนสนามซ้อมเดิมที่ บีเวอร์ ไดรฟ์ ซึ่งเคยเป็นสนามฝึกซ้อมของสโมสรฯ มาเกือบ 60 ปี ปัจจุบัน ใช้เป็นบ้านของทีมฟุตบอลหญิง เลสเตอร์ ซิตี้

นับเป็นประสบการณ์ที่มีมูลค่าอย่างยิ่งในการได้เยี่ยมชมสนามฝึกซ้อมที่ทันสมัยระดับโลกแห่งนี้ ซึ่งสโมสรได้ตั้งใจใช้ให้เป็นที่ปลุกปั้นนักฟุตบอลตั้งแต่รุ่นเยาว์ให้มีแรงบันดาลใจในการขยันฝึกซ้อมจนเติบโตเป็นนักเตะอาชีพที่ประสบความสำเร็จในอนาคต ซึ่งคงจะเป็นอะไรที่ดีงามถ้าวงการกีฬาของประเทศไทยจะได้มีโอกาสศึกษาและเรียนรู้เพื่อนำไปปรับใช้สำหรับพัฒนาวงการกีฬาฟุตบอลและกีฬาอื่นๆของบ้านเราให้ดียิ่งขึ้นเป็นลำดับ

รับชมคลิปวีดิโอซีเกรฟ http://https://youtu.be/CvZDP7N2uQc

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.