ทางการ! เชลซีจับ เจมส์ ต่อสัญญายาว-ฟันค่าเหนื่อยกระฉูด
รีซ เจมส์ แบ็กจอมบุกทีมชาติอังกฤษ ตัดสินใจฝากอนาคตไว้กับ เชลซี ต่ออีก 5 ปีอย่างเป็นทางการ พร้อมรับค่าเหนื่อยกระฉูดมากสุดเป็นอันดับที่ 4 ของสโมสร
เชลซี ประกาศยืนยันในการต่อสัญญากับ รีซ เจมส์ ฟูลแบ็กจอมบุกทีมชาติอังกฤษ ออกไปอีก 5 ปี พร้อมออปชั่นขยายเพิ่มอีก 1 ปี ออย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 ก.ย.ที่ผ่านมา
สำหรับรายละเอียดของสัญญาฉบับใหม่นั้นยังทำให้ เจมส์ รับค่าเหนื่อยเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ 58,000 ปอนด์ (ประมาณ 2.4 ล้านบาท) ต่อสัปดาห์ เป็น 250,000 ปอนด์ (ประมาณ 10 ล้านบาท) ต่อสัปดาห์ ขึ้นแท่นเป็นนักเตะ “สิงห์บลูส์” ที่รับค่าเหนื่อยมากสุดเป็นอันดับ 4 รองจาก ราฮีม สเตอร์ลิง, คาลิดู คูลิบาลี่ และ เอ็นโกโล่ ก็องเต้ เท่านั้น
เจมส์ กล่าวหลังต่อสัญญาว่า “ผมรู้สึกดีใจมากกับสัญญาฉบับใหม่ และผมรู้สึกซาบซึ้งกับแฟนบอล, เจ้าของใหม่ รวมทั้งทุกคนที่เกี่ยวข้องกับสโมสรแห่งนี้ ผมรอไม่ไหวที่จะได้เห็นว่ามีอะไรรออยู่ในอนาคต ซึ่งผมมั่นใจว่าเราจะมีโอกาสคว้าถ้วยรางวัลอีกมาก”
สำหรับ เจมส์ ก้าวขึ้นมาเล่นให้ทีมชุดใหญ่ของ เชลซี ตั้งแต่ปี 2019 โดยลงสนามไปแล้วทั้งสิ้น 181 นัดทำได้ 14 ประตูจากทุกรายการ
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.