Football Sponsored

ยูฟ่าลงดาบ 8 สโมสรทำผิดกฎไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์ เปแอสเชโดนหนักสุด ปรับ 10 ล้านยูโร

Football Sponsored
Football Sponsored
(Photo by FRANCK FIFE / AFP)

ยูฟ่าลงดาบ 8 สโมสรทำผิดกฎไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์ เปแอสเชโดนหนักสุด ปรับ 10 ล้านยูโร

เมื่อวันที่ 2 กันยายน สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) มีคำสั่งลงโทษปรับ 8 สโมสรที่ทำผิดกฎควบคุมการเงิน “ไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์” ซึ่งไม่อนุญาตให้สโมสรต่างๆ ใช้จ่ายเงินเกินรายรับ และต้องพยายามรักษาสมดุลบัญชีการเงินในระยะเวลา 3 ปี โดยยูฟ่าทำการศึกษาบัญชีการเงินของสโมสรที่ร่วมแข่งขันฟุตบอลทัวร์นาเมนต์ของยูฟ่าในฤดูกาล 2021-22 โดยวิเคราะห์สถานะการเงินย้อนหลังตั้งแต่ปี 2018-2022 โดยเพิ่มระยะเวลาเป็น 5 ปีจากปกติ 3 ปี เนื่องจากสถานการณ์โควิด

สำหรับ 8 สโมสรที่โดนลงโทษ ประกอบด้วย ปารีส แซงต์แชร์แมง, เอซี มิลาน, อินเตอร์ มิลาน, โรม่า, ยูเวนตุส, เบซิกตัส, โอลิมปิก มาร์เซย และโมนาโก โดยเปแอสเชโดนปรับหนักที่สุด 10 ล้านยูโร (370 ล้านบาท) และหากพบว่าทำผิดกฎอีกในระยะเวลาที่กำหนด อาจจะโดนปรับเพิ่มขึ้นสูงสุดถึง 65 ล้านยูโร (2,405 ล้านบาท)

ส่วนยอดรวมโทษปรับของ 8 สโมสร ขั้นต่ำ 26 ล้านยูโร (962 ล้านบาท) หรืออาจจะเพิ่มขึ้นไปสูงสุดถึง 172 ล้านยูโร (6,364 ล้านบาท) หากพบว่าทำผิดกฎในช่วงเวลาที่กำหนด

นอกจากนี้ ยูฟ่ายังแจ้งกับอีก 19 สโมสรว่ากำลังโดนจับตามองอย่างใกล้ชิดว่าอาจทำผิดกฎไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์ เช่นกัน ในจำนวนนี้มีทีมเชลซี, เลสเตอร์ ซิตี้, แมนเชสเตอร์ ซิตี้, เวสต์แฮม และเรนเจอร์ส อยู่ด้วย

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.