Football Sponsored

“เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้” ลงนามใช้สนามฟุตบอล ม.วลัยลักษณ์ เป็นสนามเหย้าสู้ศึก T3

Football Sponsored
Football Sponsored

เผยแพร่:   ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์


นครศรีธรรมราช – สโมสร “เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้” ลงนามใช้สนามฟุตบอล ม.วลัยลักษณ์ เป็นสนามเหย้า รับการมาเยือนของทีมร่วมลีก ในศึกฟุตบอลไทยลีก ประจำปี 2565 (T3) ในระดับภูมิภาคภาคใต้ พร้อมสนับสนุนนักฟุตบอลของมหาวิทยาลัยเข้าสู่วงการฟุตบอลอาชีพ

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ (มวล.) และนายมลฑล ณ นคร ประธานสโมสรฟุตบอล “เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้” ร่วมกันลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และสโมสรฟุตบอล เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ เพื่อใช้สนามฟุตบอลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นสนามเหย้า รับการมาเยือนของทีมร่วมลีก และสนามซ้อม พร้อมทั้งสนับสนุนนักฟุตบอลของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ก้าวเข้าสู่วงการฟุตบอลระดับอาชีพ

ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ให้ความสำคัญกับเรื่องกีฬาเป็นอย่างมาก ปัจจุบันมีการเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตร์การกีฬา มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพเข้าสู่วงการกีฬา และเตรียมตัวเปิดหลักสูตรทางด้านครุศาสตร์ในปีต่อไป พร้อมทั้งยังได้ปรับปรุงสนามกีฬาต่างๆ ให้มีมาตรฐานสากล สามารถรองรับการแข่งขันกีฬาระดับชาติได้ โดยในส่วนของกีฬาฟุตบอล ขณะนี้มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ มีสนามฟุตบอลมาตรฐานพร้อมอัฒจันทร์ จำนวน 1 สนาม สนามฝึกซ้อม 2 สนาม และกำลังสร้างสนามฝึกซ้อมอีก 2 สนาม นักศึกษา ผู้เกี่ยวข้อง และสโมสร MH Nakhon City จะได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่

“วันนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีมหาวิทยาลัยได้ลงนาม MOU ร่วมกับสโมสรฟุตบอล MH Nakhon City ซึ่งสโมสรมีผลงานความสำเร็จ นำสโมสรเข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลไทยลีก ประจำปี 2565 (T3) ในระดับภูมิภาคภาคใต้ โดยในการแข่งขันสโมสรได้ส่งนักฟุตบอลท้องถิ่น พร้อมทั้งสร้างความร่วมมือกับชมรมกีฬาฟุตบอลของมหาวิทยาลัย คัดเลือกนักฟุตบอลที่เป็นนักศึกษาเข้าร่วมแข่งขันด้วย ซึ่งการลงนามครั้งนี้จะสร้างความร่วมมือในการพัฒนานักกีฬา ต่อยอดสู่การเป็นนักกีฬาอาชีพได้เป็นรูปธรรมต่อไป” ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ กล่าว


ด้านนายมลฑล ณ นคร กล่าวว่า ในปีนี้สโมสร MH Nakhon City ตั้งเป้าในการเป็นแชมป์โซนภาคใต้ เพื่อเลื่อนชั้นขึ้นไปในระดับไทยลีก 2 ปัจจุบันได้ดึงตัวผู้เล่นที่มีความสามารถ ทั้งในและต่างประเทศเข้ามาเสริมความแข็งแกร่งของทีม และมีโค้ชฟิตเนส ซึ่งเป็นอาจารย์ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาช่วยดูแล โดยการลงนามในครั้งนี้นอกจากเราจะใช้สนามมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เป็นสนามเหย้าแล้ว ยังจะส่งเสริมช่วยฝึกซ้อมให้นักฟุตบอลของระดับนักศึกษาได้พัฒนาก้าวขึ้นมาสู่ฟุตบอลมืออาชีพ ขอเป็นกำลังใจให้ทีม MH Nakhon City ที่เป็นทีมก่อตั้งขึ้นใหม่ของ จ.นครศรีธรรมราช ช่วยเชียร์ให้กำลังใจกันด้วย

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว มีเป้าหมายสำคัญในการส่งเสริมการแข่งขันกีฬาฟุตบอล และสนับสนุนเยาวชนคนรุ่นใหม่ ซึ่งมีนักศึกษาของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เข้าร่วมการแข่งขันดังกล่าว และมหาวิทยาลัยจะให้การสนับสนุนสนามแข่งขันบริเวณสนามกีฬากลาง และสนามฝึกซ้อมหน้าสระว่ายน้ำ เพื่อใช้สำหรับการแข่งขัน และฝึกซ้อมของสโมสรฟุตบอลเอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ ตลอดฤดูกาลแข่งขัน

นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังจัดสรรโควตาทุนการศึกษาผู้ที่มีความสามารถด้านกีฬาตามระเบียบ หรือประกาศของมหาวิทยาลัย โดยจะร่วมมือกับสโมสรฟุตบอล เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ ในการคัดเลือกนักฟุตบอลหญิงของสโมสรฟุตบอล เอ็มเอช นครศรีฯ ซิตี้ เป็นนักเรียนจากโรงเรียนกีฬานครศรีธรรมราช เพื่อพัฒนาทีมฟุตบอลหญิงของมหาวิทยาลัยเข้าแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยและกีฬาอื่นๆ โดยมีเป้าหมายให้ได้เหรียญรางวัลภายในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งสโมสรจะรับผิดชอบการพัฒนาศักยภาพของทีมฟุตบอลให้กับมหาวิทยาลัย ทั้งฟุตบอลหญิงและชาย เพื่อให้พร้อมสำหรับการแข่งขันทุกระดับ โดยจะจัดให้มีโค้ชและทีมสต๊าฟโค้ชของสโมสร ทำการฝึกซ้อมตามระบบฟุตบอลอาชีพต่อไป

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.