Football Sponsored

60ล้านปอนด์ยังไม่เห็น! แลมพาร์ด ยัน กอร์ดอน มูลค่าสูง 100 ล้านปอนด์ – Siamsport

Football Sponsored
Football Sponsored

แฟร้งค์ แลมพาร์ด ผู้จัดการทีมเอฟเวอร์ตัน เผย แอนโธนี่ กอร์ดอน แนวรุกดาวรุ่งของสโมสรมีมูลค่าสูงกว่า 100 ล้านปอนด์ (ราว 4,400 ล้านบาท) หลังนักเตะได้รับความสนใจจาก เชลซี ที่ต้องการคว้าตัวไปร่วมทัพในช่วงซัมเมอร์นี้

ดาวเตะวัย 21 ปีตกเป็นข่าวอย่างหนักว่าเตรียมจะอำลาถิ่นกูดิสัน พาร์ค โดยมีทัพ “สิงโตน้ำเงินคราม” ที่พยายามจะเซ็นสัญญากับเขาให้ได้ อย่างไรก็ตามทัพ “ทอฟฟี่สีน้ำเงิน” ไม่สนใจที่จะขายเขาออกไป และปฏิเสธข้อเสนอของ เชลซี มาแล้ว 4 รอบ

แลมพาร์ด เปิดใจว่า กอร์ดอน เป็นผู้เล่นที่มีความสำคัญกับ เอฟเวอร์ตัน และมีมูลค่าสูงกว่า 100 ล้านปอนด์ด้วยซ้ำ ” เขาเป็นนักเตะของเรา และยังคงเป็นอยู่ ดังนั้นเขาจะอยู่ในทีมสำหรับเกมวันพรุ่งนี้ (วันเสาร์) เขาเป็นนักเตะสำคัญของเรา ผมเคยพูดไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา”

“ไม่เพียงแค่เขาเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่ามหาศาลสำหรับสถานะการเงินของสโมสรแต่ที่สำคัญยิ่งกว่านั้นก็คือเขามีคุณค่าอย่างสูงกับขุมกำลังของทีม และสำหรับผม พวกเขา (เชลซี) ไม่เคยยื่นข้อเสนอ 60 ล้านปอนด์ (ราว 2,640 ล้านบาท) ดังนั้นไม่ควรพูดเรื่องตัวเลขในกรณีนี้”

“ผมไม่สามารถตีราคาคุณค่าของเขากับสโมสรนี้เป็นตัวเลขได้ ผมโชคดีที่ได้ทำงานร่วมกับพวกนักเตะดาวรุ่งชั้นยอดที่ ดาร์บี้ และ เชลซี ได้เห็นพัฒนาการของพวกเขา และติดทีมชาติอังกฤษ รวมทั้งคว้าแชมป์ แชมเปี้ยนส์ ลีก มูลค่าตัวเลขสูงถึง 9 หลัก (มากกว่า 100 ล้านปอนด์) ในแง่ของมูลค่าส่วนตัวนักเตะเหล่านี้”

“แอนโธนี่ ก็อยู่ในกลุ่มนักเตะพวกนั้น เขามีความสุขที่ได้ทำงานร่วมกับเรา เขาเป็นเด็กปั้นของเอฟเวอร์ตัน เขาเล่นให้กับเรา และแฟนบอลก็ผูกพันกับเขา มันเข้าใจได้ที่มีหลายๆ คนสนใจตัวเขาเพราะระดับศักยภาพของเขา นี่แหละคือความจริง” แลมพาร์ด ระบุ

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.