Football Sponsored

ไม่ได้มีแค่เบ็คแฮม,ฟาเบรกาส! อีก 6 แข้งดังที่เป็นเจ้าของทีมลูกหนัง – Siamsport

Football Sponsored
Football Sponsored

อดีตมิดฟิลด์ทีม อาร์เซน่อล , บาร์เซโลน่า และ เชลซี ตัดสินใจลงทุนในช่วงบั้นปลายอาชีพนักเตะเช่นเดียวกับ เดวิด เบ็คแฮม อดีตสตาร์ดังทีมชาติ อังกฤษ ของสโมสร แมนฯ ยูไนเต็ด ซึ่งเป็นเจ้าของทีม อินเตอร์ ไมอามี่ ในอเมริกา และ ซัลฟอร์ด ซิตี้

“เขาเป็นเจ้าของร่วมของสโมสร เขาเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้น” เดนนิส ไวส์ อดีตดาวเตะทีม เชลซี ในฐานะที่ปรึกษาทางด้านเทคนิคของ โคโม่ เอ่ยกับ เดอะ มิเรอร์

“มันเป็นสิ่งที่ เชส ต้องการมีส่วนร่วม เขาจะอยู่ที่นี่ไปอีกยาวนาน มันเป็นเรื่องสำคัญ เขารู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของแผนในระยะยาว เขาเล็งเห็นว่าเราพยายามประสบความสำเร็จกับสโมสรนี้”

“เราต้องการเลื่อนขึ้นสู่ เซเรียอา เขาเห็นว่ามันเป็นโอกาสดี และผมยินดีที่ได้เขามาร่วมทีม”

อย่างไรก็ดี นอกจาก เบ็คแฮม และขุนพลทีมชาติ สเปน ชุด แชมป์โลก แล้ว ยังมีนักเตะชื่อดังอีก 6 รายที่เป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอลซึ่งคุณอาจรู้หรือว่าไม่รู้มาก่อน

1.เด็มบา บา , เอเอสซี ซาน ดีเอโก้

บา แขวนรองเท้าท้ายซีซั่น 2020/21 หลังค้าแข้งช่วงสั้นๆกับ เอฟซี ลูกาโน่ ทีมลูกหนังในลีกสวิสโดยเจ้าตัววางรากฐานให้กับชีวิตหลังอำลาอาชีพพ่อค้าแข้งเอาไว้ก่อนแล้วด้วยการเป็นผู้ร่วมก่อตั้งทีม ซาน ดีเอโก้ 1904 ขึ้นมาในปี 2017 ซึ่งฟาดแข้งอยู่ใน นอร์ธ อเมริกัน ซ็อคเกอร์ ลีก

อดีตกองหน้าทีมชาติ เซเนกัล จับมือกับสตาร์ดังอย่าง เอแด็น อาซาร์ , โยอัน กาบาย และ มุสซ่า โซว์ ส่งทีมลงแข่งในปี 2018 โดยที่ บา ได้รับตำแหน่งเป็นประธานสโมสร

กระทั่งปลายปี 2021 ซึ่งสโมสรประสบกับปัญหาทางการเงิน ซาน ดีเอโก้ 1904 ก็รวมตัวกับทีม อัลเบี้ยน เอสซี โปรส์ ก่อตั้งทีม เอเอสซี ซาน ดีเอโก้ ขึ้นมาโดยที่ บา ยังรับตำแหน่งประธานสโมสรเช่นเดิม

2.ดิดิเยร์ ดร็อกบา , ฟีนิกซ์ ไรซิ่ง

หลังกลับมาค้าแข้งกับ เชลซี เป็นคำรบสอง และคว้าแชมป์ พรีเมียร์ลีก ทิ้งทวนอีกหน ดร็อกบา ก็มองหาลู่ทางการลงทุนในอเมริกาโดยย้ายไปร่วมทีม มอนทรีล อิมแพ็ค แล้วจึงหันไปเซ็นสัญญากับ ฟีนิกซ์ ไรซิ่ง ใน ยูเอสแอล แชมเปี้ยนชิพ

“แฮปปี้ที่จะประกาศว่าผมเซ็นสัญญากับ ฟีนิกซ์ ไรซิ่ง และจะร่วมเป็นเจ้าของโดยหวังพาทีมลงเล่นใน เมเจอร์ลีก ซ็อคเกอร์” ตำนานทีม สิงห์บลูส์ ทวีตในปี 2017 สร้างชื่อเป็นนักเตะ-เจ้าของทีมรายแรกในประวัติศาสตร์ของวงการฟุตบอล

จากนั้นในปีต่อมา อดีตหัวหอกทีมชาติ ไอวอรี่ โคสต์ ก็แขวนรองเท้า แต่ยังคงเป็นผู้บริหารสโมสรเช่นเดิม

3.โรนัลโด้ – เรอัล บายาโดลิด , ครูเซโร่

ไม่ได้เป็นเจ้าของทีมฟุตบอลแค่รายเดียวเท่านั้น แต่ โรนัลโด้ ซื้อทีม ครูเซโร่ ในบ้านเกิดด้วยเช่นกันหลังถือหุ้นใหญ่ของทีม เรอัล บายาโดลิด ใน ลา ลีกา อยู่ก่อนแล้ว

เจ้าของรางวัล บัลลงดอร์ สามสมัยลงทุนเป็นเงิน 58 ล้านปอนด์เข้าถือครองหุ้น 90% ของสโมสรในลีกเมืองกาแฟช่วงปลายปีที่ผ่านมา

อันที่จริง ก่อนหน้านี้อดีตหัวหอกทีมชาติ บราซิล ถือครองหุ้นก้อนเล็กในทีม ฟอร์ท ลอเดอร์เดล สไตร์เกอร์ส อยู่แล้วก่อนเป็นเจ้าของหุ้น 51% ของทีม เรอัล บายาโดลิด ซึ่งทำให้เขาเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนที่สูงที่สุดเมื่อเดือนก.ย.2018 แลกกับการควักกระเป๋าราว 25 ล้านปอนด์

4.ซลาตัน อิบราฮิโมวิช , ฮัมมาร์บี้ ไอเอฟ

แม้จะเคยค้าแข้งในลีกแยงกี้กับทีม แอลเอ แกแลคซี่ มาก่อน แต่ อิบราฮิโมวิช ตัดสินใจซื้อหุ้น 23.5% ของทีม ฮัมมาร์บี้ ในลีกสูงสุดของ สวีเดน บ้านเกิดเมืองนอน

กระนั้นก็ดี กรณีดังกล่าวส่งผลให้กองเชียร์ มัลโม่ แค้นจัดที่อดีตกองหน้าของสโมสรเลือกลงทุนกับทีมคู่แข่ง และพากันทำลายรูปปั้นของเขาหน้าสนามของสโมสร เอเลด้า สตาดิโอน

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ในวัย 40 ปี ดาวยิงร่างยักษ์ได้รับการต่อสัญญาจาก เอซี มิลาน ต้นสังกัดใน เซเรียอา ออกไปอีกหนึ่งปีเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

5.เอ็คตอร์ เบเยริน , ฟอเรสต์ กรีน โรเวอร์ส

หลังจากปรับตัวงดกินเนื้อสัตว์ในปี 2017 และให้ความใส่ใจต่อเรื่องของสภาพแวดล้อมมากขึ้น เบเยริน ก็ลงทุนกับ ฟอเรสต์ กรีน โรเวอร์ส ทีมใน ลีกวัน ของเมืองผู้ดีซึ่งได้ชื่อว่าเป็นสโมสรฟุตบอลที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด

ต่อประเด็นนี้ กองหลัง อาร์เซน่อล มีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับสองของสโมสรรองจากประธาน เดล วินซ์ ในเดือนก.ย.2020 อันเป็นการบ่งบอกว่าเขาจริงจังกับการหันมาใช้ชีวิตแบบวีแกน

“หลายคนรู้สึกว่าไม่มีทางแก้ปัญหาให้กับสภาพแวดล้อมของโลกได้ แต่ ฟอเรสต์ กรีน ทำได้แล้วมากมายหลายวิธี ผมตื่นเต้นที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในครอบครัวของสโมสร ผมพร้อมช่วยเท่าที่ผมสามารถช่วยได้เพื่อให้การสนับสนุนผู้ที่ต้องการเปลี่ยนโลกให้ดีขึ้น” ดาวเตะ สแปนิช ระบุ

6.เซซาร์ อัซปิลิกวยต้า , แฮชแท็ก ยูไนเต็ด

อัซปิลิกวยต้า กัปตันทีม เชลซี เป็นเจ้าของร่วมทีมลูกหนังใน อิสช์เมน ลีก ซึ่งถูกก่อตั้งเมื่อปี 2016 โดยยูทูบเบอร์ สเปนเซอร์ คาร์ไมเคิ่ล บราวน์

สโมสรของชาวเน็ตแห่งนี้มีผู้ลงทะเบียนติดตามในยูทูบมากถึง 602,000 คน และประสบความสำเร็จเลื่อนชั้นได้ถึงสองหนในสามซีซั่นแรก

แม้จะได้รับตำแหน่งบอร์ดในเดือนเม.ย.2020 แต่ดาวเตะเลือดกระทิงดุมีความเกี่ยวดองกับสโมสรก่อนแล้วตอนที่เขาอัดคลิปอวยพรสโมสรในวาระครบรอบสามปีของการถือกำเนิดในปี 2019

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.