Football Sponsored

ส่องสถิติ 3 สโมสรที่คว้าชัยในบ้าน ฤดูกาล 2021-22 เยอะที่สุด

Football Sponsored
Football Sponsored

บีจี ปทุม อันดับหนึ่ง ! เผย 3 สโมสรที่ทำแต้มสูงสุดในการเล่นเป็นทีมเหย้า ในศึกฟุตบอลรีโว่ ไทยลีก ฤดูกาล 2021-22 ที่ผ่านมาโดยทีมที่โชว์ฟอร์มแกร่งโกยคะแนนสูงสุดในฤดูกาลที่ผ่านมา หนีไม่พ้น “เดอะ แรบบิท” บีจี ปทุม ยูไนเต็ด

ความเคลื่อนไหวก่อนเปิดฤดูกาลใหม่ในศึกฟุตบอลรีโว่ ไทยลีก ฤดูกาล 2022-23 หลังฤดูกาลที่ผ่านมา “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด โกยแชมป์ในประเทศไปหมดทุกใบ แต่ว่าสถิติการเล่นเป็นเจ้าบ้านในฤดูกาลที่ผ่านมาทีมที่ทำผลงานได้ดี และโกยแต้มการเล่นเป็นทีมเหย้ามากที่สุดนั้นกับได้แก่ “บีจี ปทุม ยูไนเต็ด” รองแชมป์เมื่อฤดูกาลที่ผ่านมา

สำหรับสถิติดังกล่าวทาง AIS PLAY Football ได้เก็บตกสถิติย้อนหลัง ของศึกรีโว่ ไทยลีก ในฤดูกาล 2021-22 ซึ่งเป็นสถิติในการเล่นเกมเหย้า (เจ้าบ้าน) ของ 3 สโมสร ที่โกยแต้มได้มากที่สุด ตลอดการแข่งขันทั้ง 15 นัด ในฤดูกาลที่ผ่านมา สำหรับทั้ง 3 สโมสร ที่เก็บแต้มได้มากที่สุด 3 อันดับแรกของลีก ในการแข่งขันในบ้าน ประกอบไปด้วย

1. บีจี ปทุม ยูไนเต็ด จากผลงาน 15 นัด ที่สนาม บีจี สเตเดี้ยม แบ่งเป็นชนะ 12 เสมอ 1 แพ้ 2 มีเปอร์เซ็นต์ชนะสูงถึง 80% ยิงไป 32 ประตู เสีย 13 ประตู เก็บแต้มไปได้ 37 คะแนน 

2. เมืองทอง ยูไนเต็ด จากผลงาน 15 นัด ที่สนามธันเดอร์โดม เมืองทองธานี แบ่งเป็นชนะ 10 เสมอ 4 แพ้ 1 มีเปอร์เซ็นต์ชนะ 67% ยิงไป 34 ประตู เสีย 18 ประตู เก็บแต้มได้ 34 คะแนน

3. ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด จากผลงาน 15 นัด ที่สนามทรู สเตเดี้ยม (มธ.รังสิต) แบ่งเป็นชนะ 9 เสมอ 6 และไร้พ่ายในบ้าน มีเปอร์เซ็นต์ชนะ 60% ยิงไป 34 ประตู เสีย 13 ประตู เก็บแต้มได้ 33 คะแนน

สำหรับโปรแกรมการแข่งขันในศึกฟุตบอลรีโว่ ไทยลีก ฤดูกาลใหม่ 2022-23 เกมประเดิมสนามนัดแรก จะกลับมาลงสนามในช่วงวันที่ 12-14 สิงหาคม 2565 โดยเป็นการประเดินสนามของ “แข้งเทพ” ทรู แบงค็อก ยูไนเต็ด เปิดบ้านต้อนรับการมาเยือนของ “จงอางผยอง” ขอนแก่น ยูไนเต็ด ในวันศุกร์ ที่ 12 สิงหาคม 2565 เวลา 19.00 น. ที่สนามทรู สเตเดียม ช่องทางการรับชมรอทาง ไทยลีก ประกาศอย่างเป็นทางการ

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.