Football Sponsored

บุกแดนผู้ดี! 3 แข้งบุรีรัมย์บินลัดฟ้าไปอังกฤษ ทดสอบฝีเท้ากับเลสเตอร์ 1 เดือน

Football Sponsored
Football Sponsored

หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เจ้าของสโมสร “จิ้งจอกสยาม” เลสเตอร์ ซิตี้ ทีมชั้นนำแห่งศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ จับมือกับสโมสร “ปราสาทสายฟ้า” บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด แชมป์ไทยลีก ในการส่ง 3 นักเตะดาวรุ่งทีมชาติไทยของบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด ประกอบด้วย “เช็ค” สุภโชค สารชาติ, “อาร์ม” ศุภชัย ใจเด็ด และ “แบงค์” ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา เดินทางไปร่วมทดสอบฝีเท้ากับเลสเตอร์ ซิตี้ ถึงที่ประเทศอังกฤษ ในช่วงที่ศึกไทยลีกปิดฤดูกาล เมื่อปี 2020 เป็นเวลา 1 เดือน

    ทว่าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้แผนการส่ง 3 แข้งดาวรุ่งไทยต้องหยุดชะงักไป โดยเฉพาะการเดินทางระหว่างประเทศที่ไม่ติดอุปสรรค แต่มาจนถึงปี 2022 สถานการณ์โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย และกลายเป็นโรคประจำถิ่น ทำให้แผนการส่ง 3 นักเตะปราสาทสายฟ้าไปร่วมทดสอบฝีเท้ากับทัพจิ้งจอกสยามกลับมาอีกครั้ง แต่จะมีการเปลี่ยนแปลงนักเตะ 1 คน ที่จะส่งไปร่วมซ้อมในแดนผู้ดี

    โดยนักเตะที่เปลี่ยนแปลง 1 คน เนื่องจาก สุภโชค สารชาติ ถูกส่งยืมตัวไปเล่นกับสโมสรคอนซาโดเล่ ซัปโปโร ในศึกเจลีก 1 ประเทศญี่ปุ่น ทำให้ รัตนากร ใหม่คามิ จะเดินทางไปซ้อมกับเลสเตอร์ ซิตี้ แทน โดยจะไปร่วมกับ ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา กองหน้าทีมชาติไทย รุ่นอายุไม่เกิน 23 ปี และศุภชัย ใจเด็ด อีก 1 กองหน้าที่ทะลวงตาข่ายในศึกไทยลีก ฤดูกาล 2021-22 ไปทั้งหมด 14 ประตู

    ล่าสุด เมื่อช่วงเช้าวันอังคารที่ 28 มิ.ย.65 ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ บรรดา 3 นักเตะปราสาทสายฟ้าทั้ง ศุภณัฏฐ์ เหมือนตา, ศุภชัย ใจเด็ด และรัตนากร ใหม่คามิ ได้เดินทางจากประเทศไทยเพื่อมุ่งหน้าไปยังประเทศอังกฤษ เพื่อทดสอบฝีเท้ากับเลสเตอร์ ซิตี้ เป็นเวลา 1 เดือน โดยมี เนวิน ชิดชอบ ประธานสโมสรบุรีรัมย์ ยูไนเต็ด และ “ซ้อต่าย” กรุณา ชิดชอบ รองประธานสโมสรฯ เดินทางมาส่ง 3 แข้งด้วยตัวเองด้วย

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.