Football Sponsored

[ข่าวซื้อขาย] อดีต ผอ. บาร์เซโลนา แนะวิธีให้ทีมรักเซ็น เลวานดอฟสกี้-กุนเด้-ราฟินญา และ แบร์นาโด้ ซิลวา ให้ได้

Football Sponsored
Football Sponsored

โทนี ไฟรซา อดีตผู้อำนวยการ สโมสรฟุตบอลบาร์เซโลนา แห่งศึก ลา ลีกา สเปน ฉะผู้บริหารทีมรักว่าเป็นเพียงการขายฝัน ท่ามกลางข่าวลือหนาหูถึงเหล่าแข้งบิ๊กเนมใน ตลาดซื้อขายนักเตะ ซัมเมอร์นี้อย่างต่อเนื่อง

พลพรรค อาซูลกรานา ตกเป็นข่าวโยงกับแข้งอย่าง โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ (บาเยิร์น มิวนิค), ฌูลส์ กุนเด้ (เซบียา), ราฟินญา (ลีดส์ ยูไนเต็ด) และ แบร์นาร์โด้ ซิลวา (แมนเชสเตอร์ ซิตี้) ทว่าตัวเลขความสมดุลทางบัญชีของพวกเขากลายเป็นอุปสรรคสำคัญที่ขัดขวางไม่สามารถทำให้ดีลดังกล่าวเกิดขึ้นได้

“คุณรู้ใช่ไหม่ว่า เลวานดอฟสกี้, กุนเด้, ราฟินญา และ แบร์นาร์โด้ จะไม่ย้ายมา รู้อยู่แก่ใจใช่ไหม” ไฟรซา ทวีตแสดงความคิดเห็น “ผมไม่เชื่อในข่าวในตลาดนักเตะของ บาร์เซโลนา พวกเขาต่างพูดขายฝันกันทั้งนั้น สิ่งที่พวกเขาพูดออกมาขัดแย้งกับความเป็นจริง และผมไม่มีทางเลือกที่จะต้องเตือนทุกคนว่ามันจะไม่สามารถเป็นไปได้อย่างแน่นอน”

“นักเตะหนึ่งในนั้นอาจย้ายมาร่วมทีมเราหากมีใครสักคนถูกปล่อยออกจากทีม เราต้องขายมากกว่านั้นหากต้องการให้แข้งอย่าง แบร์นาร์โด้ ย้ายมา หากจะต้องหันไปขายจักรยานก็ทำเถอะ แต่ผมไม่มีวันเชื่อว่าเราจะสามารถคว้านักเตะบิ๊กเนมอย่างเขามาร่วมทีมได้”

“ผมแสดงความคิดเห็นสวนกระแส สิ่งที่ บาร์เซโลนา ทำอยู่ในเวลานี้คือสร้างภาพลวงตา และจากนี้ไม่นานข่าวการควบคุมผลประโยชน์จะถูกปูดออกมา”

“ตามหลักการแล้วควรจะมีข้อเสนอ 2-3 ดีลที่ลุล่วงเพื่อมอบทุนให้แก่เราเพื่อใช้ในการชำระหนี้ รวมไปถึงลงทุนจัดการในทีมให้มีศักยภาพมากยิ่งขึ้น”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.