Football Sponsored

“มิตติ” ข้องใจ “เชียงราย” ต้องไปเตะ ACL 2022 ที่บุรีรัมย์-ขอลาออกสภา ส.บอล – ไทยรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 18 มี.ค. 65 หลังจากที่สมาพันธ์ฟุตบอลเอเชีย เดินทางมาตรวจสนามเหย้าของ “กว่างโซ้งมหาภัย” เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ซึ่งพบว่ายังมีจุดที่ปรับปรุงและเพิ่มเติมในบางส่วน รวม 3 จุด ได้แก่ 1.เพิ่มไฟให้ได้ 1,800 ลักซ์, 2.เพิ่มห้องแต่งตัวนักกีฬาอีก 2 ห้อง และ 3.ปรับพื้นสนามซ้อมที่มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง/มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย ซึ่ง เอเอฟซี กังวลว่า ทางสโมสรเชียงราย จะไม่สามารถปรับปรุงได้ทัน

จากนั้น “ประธานฮาย” ปวิศรัฐฐ์ ติยะไพรัช ประธานสโมสรลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด ได้โพสต์ว่า “ยืนยันว่า ทั้งหมด 3 ข้อทำเสร็จทันแน่นอน โดยในวันที่ 31 มีนาคมนี้ ทาง เอเอฟซี สามารถส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจได้เลย

ต่อมาในช่วงสายของวันที่ 18 มี.ค. 65 เอเอฟซี ยืนยันผ่านเว็บไซต์อย่างเป็นทางการว่า ศึกเอเอฟซี แชมเปียนส์ลีก 2022 รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่มเจ ซึ่งเดิมทีวางไว้ให้ ลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด เป็นเจ้าภาพ จะโยกมาแข่งขันที่จังหวัดบุรีรัมย์แทน

ล่าสุด มิตติ ติยะไพรัช ประธานที่ปรึกษาสโมสรลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด ได้โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัวตัดพ้อกรณีที่ทีมถูกตัดสิทธิ์เป็นเจ้าภาพ ACL 2022 พร้อมตั้งข้อสงสัยทำไมต้องไปแข่งที่บุรีรัมย์ และขอประกาศลาออกจากตำแหน่งสภากรรมการสมาคมฯ โดยมีผลทันที

ทั้งนี้โพสต์ดังกล่าวมีใจความว่า “ตั้งใจและมุ่งมั่นทำฟุตบอลเพื่อจังหวัดเชียงราย และประเทศไทยมาทั้งชีวิตการทำงาน แต่ในวันนี้การตัดสินขององค์กรหนึ่งกลับทำให้เราเสียใจมากที่สุดจริงๆ”

“ยังงงๆ และไม่รู้จะทำอย่างไรต่อ การตัดสินแบบนี้เพื่อประโยชน์ของใคร ทั้งในแง่ของคนดูและหลักภูมิศาสตร์ เราอยู่เชียงรายทำไมต้องไปแข่งที่ภาคอื่น”

“เปลี่ยนเหตุผลได้ทุกครั้งที่เราส่งเรื่องขอให้ทบทวน”

“และขอโทษทุกคนที่พวกเราทำให้ผิดหวังอีกแล้ว เสียใจและเศร้าใจมากจริงๆ”

“แข่ง ACL ที่ไทย แต่ไม่ได้แข่งในบ้าน ไปแข่งทำไมที่บุรีรัมย์”

“ทั้งนี้ผมขอแจ้งให้ทราบว่าผมได้ยื่นหนังสือลาออกจากสภากรรมการสมาคมฟุตบอล นับตั้งแต่บัดนี้”

“ACL ไปแข่งที่บุรีรัมย์เพื่อ????”

สำหรับ ลีโอ เชียงราย ยูไนเต็ด อยู่ในกลุ่มเจ ร่วมกับ เซี่ยงไฮ้ พอร์ต (จีน), คิตฉี เอสซี (ฮ่องกง) และ วิสเซล โกเบ (ญี่ปุ่น) แข่งขันระหว่างวันที่ 16 เมษายน-1 พฤษภาคมนี้.

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.