Football Sponsored

บาเยิร์น เฉือนหวิว ติเกรส 1-0 คว้าแชมป์สโมสรโลก สมัยที่ 2

Football Sponsored
Football Sponsored

“เสือใต้” บาเยิร์น มิวนิก เฉือนเอาชนะ ติเกรส ไปหวุดหวิด 1-0 คว้าแชมป์สโมสรมาครองเป็นสมัยที่ 2

การแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรโลก “ฟีฟ่า คลับ เวิลด์ คัพ 2020” รอบชิงชนะเลิศ เมื่อคืนวันพฤหัสบดีที่ 11 ก.พ. 64 ที่สนามเอดูเคชัน ซิตี้ สเตเดียม (สนามกลาง) “เสือใต้” บาเยิร์น มิวนิก สโมสรแกร่งจากเยอรมนี พบกับ ติเกรส ทีมดังจากเม็กซิโก

เกมนี้ ฮันซี ฟลิก เทรนเนอร์ของบาเยิร์นฯ ไม่มี เยโรม บัวเต็ง กองหลังคนสำคัญที่ได้รับอนุญาตให้เดินทางกลับเยอรมนี เนื่องจากอดีตแฟนสาวเสียชีวิต และ โธมัส มุลเลอร์ ที่ติดเชื้อโควิด-19 แต่ตัวหลักคนอื่นๆ ยังอยู่ครบ นำมาโดย โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี ยอดดาวยิงทีมชาติโปแลนด์ ขณะที่ ริคาร์โด เฟร์รัตติ กุนซือของติเกรส มี อองเดร ปิแอร์ ฌีญัก เป็นทีเด็ดในแนวรุก

เปิดฉากครึ่งแรกมาถึงนาทีที่ 18 บาเยิร์น เกือบขึ้นนำ จากจังหวะที่ โจชัว คิมมิช ตะบันด้วยขวาจากนอกกรอบ บอลพุ่งเสียบมุมเข้าไป แต่ VAR เช็กว่าเป็นจังหวะล้ำหน้าของ โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี ที่มีส่วนยืนบังการเซฟของผู้รักษาประตู ก่อนจะจบครึ่งแรกไปด้วยสกอร์ 0-0

กลับมาเล่นต่อครึ่งหลัง นาทีที่ 59 บาเยิร์น ได้ประตูขึ้นนำ 1-0 เมื่อ โจชัว คิมมิช ตักบอลเข้ากรอบเขตโทษ นาอูเอล กุซมัน ผู้รักษาประตูติเกรส ปัดบอลมาเข้าทาง แบงฌาแมง ปาวาร์ วอลเลย์ด้วยขวาเข้าไปตุงตาข่าย

ช่วงเวลาที่เหลือทั้งสองทีมทำอะไรกันเพิ่มไม่ได้ จบเกม บาเยิร์น มิวนิก ชนะ ติเกรส 1-0 คว้าแชมป์ฟุตบอลสโมสรโลก เป็นสมัยที่ 2 หลังเคยทำได้มาแล้ว เมื่อปี 2013

ผลนัดชิงอันดับที่ 3

อัล อาห์ลี (อียิปต์) ชนะจุดโทษ พัลเมรัส (บราซิล) 3-2 หลังเสมอใน 90 นาที 0-0

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.