ดันลูกหม้อ “แมนยูฯ” ตั้ง “เมอร์ทัฟ-เฟลทเชอร์” นั่งแท่นผู้บริหาร
“ปิศาจแดง” ประกาศแต่งตั้ง 2 ลูกหม้อสโมสร ขึ้นมาทำหน้าที่ตำแหน่งสำคัญในฤดูกาลหน้า เพื่อช่วยเหลือ “เอ็ด วูดเวิร์ด” ดูแลเรื่องการซื้อขายนักเตะ
วันที่ 10 มี.ค.64 แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ประกาศแต่งตั้ง จอห์น เมอร์ทัฟ ขึ้นมาทำหน้าที่ ผู้อำนวยการฟุตบอลของสโมสร รวมถึง ดาร์เรน เฟลทเชอร์ นั่งแท่นผู้อำนวยการฝ่ายเทคนิค ซึ่งจะมีผลตั้งแต่ฤดูกาลหน้าเป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ หลุยส์ คัมโปส, เอ็ดวิน ฟาน เดอร์ ซาร์ รวมถึง พอล มิตเชลล์ ต่างถูกคาดหมายว่า อาจได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ผู้อำนวยการฟุตบอล คนแรกในประวัติศาสตร์สโมสร แต่สุดท้ายผู้บริหารก็ตัดสินใจเลือก เมอร์ทัฟ ซึ่งทำงานกับแมนยูฯ ในบทบาทหัวหน้าฝ่ายพัฒนาฟุตบอลมาแล้ว 7 ปี เข้ามารับตำแหน่งในที่สุด
สำหรับตำแหน่งดังกล่าว เมอร์ทัฟ จะเข้ามาดูแลงานด้านซื้อขายนักเตะ แทนที่ของ เอ็ด วูดเวิร์ด ซึ่งจะทำหน้าที่เคียงข้าง แมตต์ จัดจ์ ที่ได้รับการโปรโมตขึ้นมาทำหน้าที่ ผอ.ฝ่ายเจรจา
ขณะที่อีกหนึ่งหน้าที่สำคัญ คือ ผู้อำนวยการฝ่านเทคนิค ตกเป็นของ ดาร์เรน เฟลทเชอร์ อดีตแข้งลูกหม้อวัย 37 ปี ซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่หนึ่งในทีมงานสตาฟฟ์โค้ชของ โอเล กุนนาร์ โซลชาร์ โดย เฟลทเชอร์ จะทำหน้าที่เดิมไปจนจบฤดูกาล 2020-21 ก่อนเลื่อนขึ้นไปทำหน้าที่ผู้บริหารอย่างเป็นทางการในซีซั่นหน้า.
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.