Football Sponsored

แมนฯยู ตั้งผอ.ฟุตบอลคนแรกในประวัติศาสตร์สโมสร-เฟล็ตเชอร์ นั่งผอ.เทคนิค

Football Sponsored
Football Sponsored

แมนฯยู แต่งตั้ง จอห์น เมอร์ทัฟ ขึ้นมาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการฟุตบอลคนแรกในประวัติศาสตร์สโมสร พร้อมให้ ดาร์เรน เฟล็ตเชอร์ ทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการเทคนิค

เกาะติดข่าว กดติดตามไลน์ ข่าวสด

ก่อนหน้านี้ “ปีศาจแดง” ยังไม่เคยมีผู้อำนวยการฟุตบอลเลยแม้แต่คนเดียวซึ่งพวกเขาตกเป็นข่าวว่าพยายามหาบุคลากรมาทำหน้าที่นี้ตั้งแต่ปี 2018 แต่ยังไม่เจอคนที่เหมาะสม

กระทั่งล่าสุด แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์สโมสรว่า พวกเขาได้แต่งตั้งให้ เมอร์ทัฟ ซึ่งก่อนหน้านี้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าฝ่ายพัฒนาฟุตบอลให้รับตำแหน่งผู้อำนวยการฟุตบอล และเป็นคนแรกในประวัติศาสตร์สโมสรที่ทำหน้าที่ดังกล่าว

“จอห์นจะเป็นผู้นำ และความรับผิดชอบทั้งหมดสำหรับการดำเนินงานและวางกลยุทธ์ในทุกฟังก์ชันเกี่ยวกับฟุตบอล โดยทำหน้าที่เสริมสร้างรากฐานที่แข็งแกร่งอยู่แล้วขึ้นไปอีก การแต่งตั้งครั้งนี้ เป็นการต่อยอดจากงานที่ จอห์น ได้ดำเนินการไปแล้วในหลายปีที่ผ่านมา โดยจะทำงานใกล้ชิดกับ โอเล กุนนาร์ โซลชาร์ และทีมงานฟุตบอลที่เหลือเพื่อวางโครงสร้าง, การประมวลผล และวัฒนธรรม เพื่อส่งมอบความสำเร็จที่ยั่งยืนในสนาม” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด แถลง

นอกจากนั้น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ยังแต่งตั้งให้ ดาร์เรน เฟล็ตเชอร์ อดีตนักเตะของทีมซึ่งปัจจุบันทำหน้าที่เป็นโค้ชทีมชุดใหญ่ให้ขึ้นไปเป็นผู้อำนวยการเทคนิคของสโมสร

ขอบคุณภาพจากทวิตเตอร์ : @ManUtd

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.