ฮือฮา ยักษ์ผู้ดี ผงาดเต็งคว้า “คูตินโญ” หลังจ่อโดนบาร์ซาขายทิ้ง
สโมสรยักษ์ใหญ่แห่งศึกพรีเมียร์ลีก อังกฤษ กลายเป็นทีมเต็งที่จะได้ตัว ฟิลิปเป คูตินโญ มิดฟิลด์ของบาร์เซโลนา มาร่วมทัพในช่วงซัมเมอร์นี้
วันที่ 9 มี.ค. 64 ความเคลื่อนไหวหลังจากที่ อาส สื่อดังของสเปน รายงานข่าวว่า “เจ้าบุญทุ่ม” บาร์เซโลนา สโมสรแกร่งแห่งศึก ลา ลีกา สเปน มีแผนที่จะปล่อย ฟิลิปเป คูตินโญ กองกลางทีมชาติบราซิล ออกจากถิ่นคัมป์ นู ในช่วงซัมเมอร์นี้ เพื่อตัดภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป ตามนโยบายของ โจน ลาปอร์ตา ประธานสโมสรคนใหม่ เนื่องจากปัจจุบัน คูตินโญ รับค่าจ้างสูงถึง 7.6 ล้านปอนด์ต่อปีนั้น
ล่าสุด แลดโบรกส์ บ่อนรับพนันถูกกฎหมายของอังกฤษ ได้ออกราคาทีมเต็งที่จะได้ตัว คูตินโญ มาร่วมทีม ผลปรากฏว่า เต็ง 1 ได้แก่ “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล กับ “งูใหญ่” อินเตอร์ มิลาน มีอัตราต่อรองอยู่ที่ 4/1 (แทง 1 จ่าย 4 ไม่รวมทุน) ส่วนเต็ง 2 ได้แก่ “เสือใต้” บาเยิร์น มิวนิก มีอัตราต่อรองอยู่ที่ 5/1 (แทง 1 จ่าย 5 ไม่รวมทุน) และเต็ง 3 ได้แก่ “ปิศาจแดงดำ” เอซี มิลาน กับ “ม้าลาย” ยูเวนตุส มีอัตราต่อรองอยู่ที่ 6/1 (แทง 1 จ่าย 6 ไม่รวมทุน)
สำหรับ คูตินโญ นั้นเคยฝากผลงานอันยอดเยี่ยมสมัยค้าแข้งกับ ลิเวอร์พูล ซัดไป 54 ประตู กับอีก 43 แอสซิสต์ จากการลงเล่น 201 นัดรวมทุกรายการ ก่อนจะย้ายไปอยู่กับ บาร์เซโลนา เมื่อเดือนมกราคม ปี 2018 ด้วยค่าตัว 142 ล้านปอนด์
อัตราต่อรองเต็งคว้าคูตินโญ
ลิเวอร์พูล 4/1
อินเตอร์ มิลาน 4/1
บาเยิร์น มิวนิก 5/1
เอซี มิลาน 6/1
ยูเวนตุส 6/1
เรอัล มาดริด 12/1
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.