แฟนบอลพันธุ์แท้ ฮอง อันห์ ยาลาย มอบ 500 ล้านดอง เป็นรางวัล หลังลีกยุติ – สยามกีฬา
หลังจากการประชุมออนไลน์ทั้ง 27 สโมสรในศึกวีลีพ เมื่อวันที่ 24 สิงหาคม ที่ผ่านมา ผลปรากฎว่า ทีม 27 สโมสรร่วมกันหาทางออกโดยการยุติการแข่งขันฟุตบอลวีลีก ในปี 2021 ล่าสุดแฟนบอลฮอง อันห์ ยาลาย อย่าง เจิ่น วาน ควิ่ย์ ประธาน Position Gold Group Joint Stock Company ธุรกิจที่เชี่ยวชาญด้านธุรกิจจริง รีสอร์ท อสังหาริมทรัพย์และการท่องเที่ยว ตัดสินใจมอบรางวัลให้กับสโมสรฮอง อันห์ ยาลาย เป็นเงิน 500 ล้านดอง หรือประมาณ 730,000 บาท
เจิ่น วาน ควิ่ย์ กล่าวว่า: “ฮอง อันห์ ยาลาย เป็นผู้นำในการแข่งขันลีกและมีโอกาสที่ดีที่จะคว้าแชมป์หลังจากผ่านไป 17 ปี แต่การแข่งขันถูกยกเลิกเนื่องจากเหตุสุดวิสัย อย่างไรก็ตาม สำหรับผมซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ ของสโมสร ผมรักและชื่นชมสไตล์ฟุตบอลที่ดีและสวยงามของ ฮอง อันห์ ยาลาย มาเป็นเวลานานโดยเฉพาะนักเตะอย่าง เหงียน คอง เฟือง , เลือง ซวน เจือง,ตวน อันห์, เจิ่น มิญ เวือง , วู วาน ทันห์ , เหงียน วัน ตวน, เหงียน ฟอง ฮง ซวี นอกเหนือจากทีมแล้ว ยังมีการเล่นที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น ภายใต้การแนะนำของโค้ชเกียรติศักดิ์ เสนาเมือง แล้วผู้เล่นในทีม มีส่วนอย่างมากในระดับทีมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรอบคัดเลือกรอบที่ 2 ของการแข่งขันฟุตบอลโลก ผู้เล่นฮอง อันห์ 7คนถูกเรียกโดยโค้ช ปาร์ค ฮัง ซอ จนช่วยทีมให้สามารถทะลุผ่านเข้ารอบ 12 ทีมสุดท้ายในศึกฟุตบอลโลก โซนเอเชียได้เป็นครั้งแรก’’
ด้าน โค้ชซิโก้ เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง นักเตะ สตาฟฟ์โค้ช ได้ขอขอบคุณจากใจจริง ที่ เจิ่น วาน ควิ่ย์ มีน้ำใจต่อ สโมสรฮอง อันห์ ยาลาย เลยขอตัดสินใจหักเงิน 50 ล้านดอง หรือประมาณ 72,000 บาท เพื่อซื้อข้าวเพื่อบริจาคให้กับครัวการกุศลเพื่อทำอาหารให้กับโรงพยาบาลสนาม รักษาผู้ป่วย โควิด 19 ในสถานการณ์ที่ยากลำบากในพื้นที่ปิดในนครโฮจิมินห์
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.