“ทูเคิล” ปล่อย “ซูมา” ย้ายซบทีมดังในพรีเมียร์ลีก แต่ติดปัญหาจนดีลหยุดชะงัก – ไทยรัฐ
ดีลการขาย เคิร์ต ซูมา ของ เชลซี ที่มี เวสต์แฮม เป็นผู้ซื้อ เกือบจะเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่นักเตะยังตกลงค่าเหนื่อยกับว่าที่สังกัดใหม่ไม่ได้
วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2564 เดลีเมล มีรายงานว่า เวสต์แฮม ยูไนเต็ด และ เชลซี 2 ทีมดังในกรุงลอนดอน ตกลงปิดดีลซื้อขาย เคิร์ต ซูมา กองหลังของเชลซี เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
เคิร์ต ซูมา (เสื้อน้ำเงิน)
โดยที่ “ขุนค้อน” จะต้องจ่ายเงิน 26 ล้านปอนด์ (1.2 พันล้านบาท) แต่ดีลนี้ยังไม่เกิดขึ้น เนื่องจากว่าที่ต้นสังกัดใหม่ยังไม่สามารถตกลงค่าเหนื่อยกับนักเตะได้ โดยที่กองหลังสัญชาติฝรั่งเศสเรียกร้องค่าเหนื่อยอยู่ที่สัปดาห์ละ 125,000 ปอนด์ต่อสัปดาห์ (5 ล้านบาท)
ซึ่งคาดการณ์ว่า สาเหตุที่ เชลซี ยอมขาย ซูมา ให้ เวสต์แฮม ในครั้งนี้ เพื่อเปิดทางให้กับ ฌูลส์ คูนเด เซ็นเตอร์ของ เซบีญา มาร่วมทัพให้ได้ โดยมีรายงานว่า ยังอยู่ในขั้นตอนของการเจรจาซื้อขาย โดย เชลซี ยื่นไปที่ 68 ล้านปอนด์ (3 พันล้านบาท).
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.