“ฟรีไฟร์ บลูเวฟ ชลบุรี”เทงบ 25 ล้านบาท สู้ศึกฟุตซอลไทยลีก 2021 – คมชัดลึก
สโมสรฟุตซอล บลูเวฟ ชลบุรี ทีมในฟุตซอลไทยลีก ได้มีการจัดการแถลงข่าวเปิดตัวสโมสร ประจำฤดูกาล 2021/22 โดยกิจกรรมจัดขึ้น ในรูปแบบออนไลน์ ผ่าน Facebook Fanpage : Bluewave Chonburi Futsalclub ทั้งนี้ บลูเวฟ ชลบุรี ประจำฤดูกาลใหม่ จะใช้ชื่อทีมว่า “ฟรีไฟร์ บลูเวฟ ชลบุรี” มีสนามเหย้า คือโรงยิมเนเซียม ภายใน สถาบันพลศึกษาชลบุรี โดยจะใช้ชื่อว่า ฟรีไฟร์ บลูเวฟ อารีน่า
ธัชพัทธ์ เบ็ญจศิริรวรรณ ประธานสโมสร “ฟรีไฟร์ บลูเวฟ ชลบุรี” เปิดเผยว่า ในฤดูกาลนี้ จะใช้งบประมาณทำทีมรวม 25 ล้านบาท ภายใต้คอนเซ็ปต์ “TheR15ingWave” ซึ่งมีความหมายถึงการต่อยอดสู่ความสำเร็จในปีที่ 15 ของสโมสร สำหรับผู้เล่นของสโมสรในขณะนี้ นอกเหนือจากขุมกำลังในระดับทีมชาติไทยแล้ว ยังรวมไปถึงนักฟุตบอลระดับเยาวชนที่พร้อมจะก้าวขึ้นมา เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงการให้ความสำคัญกับ ระบบอคาเดมี รวมถึงการพัฒนาฟุตซอลในรากฐานที่มั่นคง
“ปีนี้ เรามีเป้าหมาย ที่จะยังคงเดินหน้าไล่ล่าความสำเร็จ รวมถึงป้องกันแชมป์ ฟุตซอลไทยลีก ให้ได้ต่อไป รวมถึงการรักษามาตรฐานของทีม สู่การกลับไปเป็นสโมสรชั้นนำในระดับนานาชาติอีกครั้ง”
เขา กล่าวว่า แผนงาน ในฤดูกาล 2021/22 เมื่อสถานการณ์โควิด 19 ผ่อนคลาย มีแผนที่จะทำกิจกรรมคืนกำไรสู่สังคม รวมทั้งการเปิดคลีนิคฝึกสอนเยาวชนในพื้นที่ต่างๆ การจัดกิจกรรมอบรม และ พัฒนาผู้ฝึกสอนในรูปแบบปกติ และ รูปแบบออนไลน์ ทั้งนี้เพื่อต่อยอดวงการฟุตซอลให้มีการพัฒนาขึ้น
อนึ่งฟุตซอลไทยลีก มี 14 สโมสร ร่วมแข่งขัน จะเปิดฤดูกาล ตั้งแต่ 6 ตุลาคม เป็นต้นไป
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.