แข้ง ‘บราซิล’ ซิวแชมป์ฟุตบอลชาย ‘โอลิมปิก2020’ หลังเฉือน ‘สเปน’ – กรุงเทพธุรกิจ
“โอลิมปิก2020” ทีมชาติ “บราซิล” เฉือนชนะ ทีมชาติ “สเปน” 2-1 ในช่วงต่อเวลาพิเศษ คว้าแชมป์ฟุตบอลชาย “โตเกียวโอลิมปิก” ที่ประเทศญี่ปุ่น
7 ส.ค. 64 การแข่งขันฟุตบอลชาย “โอลิมปิก2020” รอบชิงชนะเลิศที่สนามนิสสัน สเตเดียมในเมืองโยโกฮามา ประเทศญี่ปุ่น ช่วงค่ำที่ผ่านมา เป็นการดวลกันระหว่างทีมชาติบราซิล กับ ทีมชาติสเปน
ระหว่างเกมครึ่งแรก ในนาทีที่ 38 ทีมชาติบราซิลได้จุดโทษ แต่ริชาร์ลิซอน กองหน้าจากสโมสรเอฟเวอร์ตัน ยิงจุดโทษไม่เข้า ต่อมานาทีที่ 45 คุนย่า ทำประตูขึ้น หมดครึ่งแรกบราซิลนำ 1-0
เริ่มครึ่งหลังนาทีที่ 61 มิเคล โอยาร์ซาบัล ตีเสมอให้ทีมชาติสเปน 1-1 ก่อนจะจบไปด้วยสกอร์ดังกล่าว ต้องต่อเวลาพิเศษ
โดยทีมชาติบราซิลได้ประตูชัยครึ่งหลัง จากมัลคอม ฟิลิปเป้ ในนาทีที่ 107 หลังจากนั้นไม่มีทีมไหนทำประตูกันได้ จบการแข่งขัน บราซิลคว้าเหรียญทองโอลิมปิก 2020 ไปในที่สุด
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.