Football Sponsored

ราคานี้ แมนยูว่าไง?เผยเม็ดเงินที่เปแอสเชคิดใช้สู่ขอป็อกบา – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

เดอะ มิร์เรอร์ สื่อของอังกฤษ ตีข่าว ปารีส แซงต์-แชร์กแมง กำลังพยายามระดมเม็ดเงินให้ถึงหลัก 50 ล้านปอนด์ เพื่อใช้เป็นค่าตัวขอซื้อ ปอล ป็อกบา โดยเป็นที่เชื่อว่า มิโน่ ไรโอล่า เอเยนต์ของ ป็อกบา ก็กำลังคุยเรื่องเงื่อนไขส่วนตัวของแข้งเลือดน้ำหอมกับทาง “เปแอสเช” เช่นกัน

    ปารีส แซงต์-แชร์กแมง สโมสรมหาเศรษฐีแห่งเวที ลีก เอิง ฝรั่งเศส กำลังพยายามหาทางระดมทุนให้ได้ 50 ล้านปอนด์ (ประมาณ 2,000 ล้านบาท) เพื่อนำไปเป็นค่าตัวสำหรับการยื่นข้อเสนอขอซื้อ ปอล ป็อกบา มิดฟิลด์คนดังของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตามรายงานของ เดอะ มิร์เรอร์ สื่อชั้นนำของประเทศอังกฤษ

    อนาคตของ ป็อกบา เต็มไปด้วยความไม่แน่นอนตลอดช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่เขาเหลือสัญญากับ แมนฯ ยูไนเต็ด จนถึงช่วงซัมเมอร์ ปีหน้าเท่านั้น นั่นหมายความว่าหากจนถึงเดือนมกราคมนี้เขายังอยู่กับทีมและไม่มีการต่อสัญญากัน เจ้าตัวก็สามารถคุยเรื่องย้ายทีมแบบไร้ค่าตัวล่วงหน้ากับทีมจากต่างแดนได้ทันที ขณะเดียวกันเขาก็ตกเป็นข่าวกับทีมระดับ ปารีส, เรอัล มาดริด และ ยูเวนตุส อย่างต่อเนื่อง

    ทั้งนี้ เดอะ มิร์เรอร์ ระบุว่าหนึ่งในภารกิจหลักในตอนนี้ของ ปารีสฯ คือการพยายามขายนักเตะให้ได้เงินรวม 50 ล้านปอนด์ โดยพวกเขาเชื่อว่า แมนฯ ยูไนเต็ด จะยอมรับค่าตัวในระดับนั้นแม้ว่าจะขาดทุนพอตัวก็ตาม เพราะฝั่ง “ปีศาจแดง” คงไม่อยากเสียดาวเตะทีมชาติฝรั่งเศสไปแบบฟรีๆ โดยว่ากันว่า มิโน่ ไรโอล่า เอเยนต์ของแข้งวัย 28 ปี ก็กำลังเจรจาเรื่องเงื่อนไขส่วนตัวกับทาง “เปแอสเช” อยู่ด้วย

    สำหรับ แมนฯ ยูไนเต็ด นั้น เคยเสียเงินไป 89 ล้านปอนด์ (ประมาณ 3,560 ล้านบาท) เพื่อดึง ป็อกบา กลับมาจาก ยูเวนตุส เมื่อช่วงซัมเมอร์ ปี 2016 และปัจจุบันเขาก็รับค่าเหนื่อยกับทีมสูงถึงสัปดาห์ละ 290,000 ปอนด์ (ประมาณ 11.60 ล้านบาท)

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.