“อาร์เยน ร็อบเบน” ตัดใจยุติค้าแข้งสุดฝืนกับอาการบาดเจ็บ – คมชัดลึก
“อาร์เยน ร็อบเบน” อดีตนักเตะทีมชาติเนเธอร์แลนด์ และเป็นกำลังสำคัญให้ทีมชั้นนำในยุโรป ทั้ง เชลซี , เรอัล มาดริด, และ บาเยิร์นมิวนิก ตัดสินใจยุติการค้าแข้ง โดยต้นสังกัดสุดท้ายของเขาคือสโมสรฟุตบอลบ้านเกิดในเนเธอร์แลนด์ โกรนิงเก้น
“อาร์เยน ร็อบเบน ” ในวัย 37 ปี หันหลังให้กับวงการฟุตบอลเป็นที่แน่นอนแล้ว โดยเขาใช้พื้นที่ในสื่อออนไลน์ประกาศท่าทีในเรื่องนี้ โดยสโมสรฟุตบอล โครนิงเก้น ในเนเธอร์แลนด์ เป็นสโมสรสุดท้าย ที่อดีตนักฟุตบอลทีมชาติเนเธอร์แลนด์ร่วมงาน ประจำฤดูกาล 2020-2021 การรีไทร์ตัวเอง มาจากเหตุผลในเรื่องของสุภาพจากอาการบาดเจ็บ
” อาร์เยน ร็อบเบน “ ออกสตาร์ทในเส้นทางฟุตบอล กับ โกรนิงเก้น ในเนเธอร์แลนด์ ตามด้วย ปารีสแซงแชรก์แมงต์ ในฝรั่งเศส , เชลซี เชลซี ในพรีเมียร์ลีกอังกฤษ และพาทีมเป็นแชมป์พรีเมียร์ลีก 2 สมัย, ลีกคัพ 2 สมัย และเอฟเอคัพ 1 สมัย ,คว้าแชมป์ ลาลีกาสเปน 1 สมัย กับ เรอัลมาดริด และที่ประสบความสำเร็จสูงสุด คือ ร่วมงานกับบาเยิร์นมิวนิก ในบุนเดสสีกา เยอรมนี พาทีมคว้าแชมป์บุนเดสลีกา 8 สมัย ระหว่างปี 2009-2019 ติดทีมชาติเนเธอร์แลนด์ 96 นัด ยิงไป 37 ประตู
CREDIT PHOTO : https://www.facebook.com/ArjenRobbenpagr
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.