” บีจีปทุม”สุดต้านพ่ายอุลซานฮุนไดนัดสุดท้ายแบ่งกลุ่มเอเอฟซี – คมชัดลึก
ฟุตบอล เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2021 รอบแบ่งกลุ่ม เอฟ นัดที่ 6 ซึ่งเป็นนัดสุดท้ายของรอบแบ่งกลุ่ม ที่สนามปทุมธานีสเตเดี้ยม เป็นการพบกัน ระหว่าง บีจี ปทุม ยูไนเต็ด “ บีจีปทุม” ตัวแทนจากประเทศไทย รองจ่าฝูงของกลุ่ม ที่แข่งไป 5 นัด ชนะ 4 แพ้ 1 มีอยู่ 12 คะแนน และเข้ารอบ 16 ทีมไปแล้ว พบกับ อุลซาน ฮุนได จากเกาหลีใต้ ที่เก็บชัยชนะมา 5 นัดรวด เข้ารอบไปแล้วเช่นกัน ในฐานะจ่าฝูงของกลุ่ม มี 15 คะแนน
การพบกันนัดแรก อุลซาน ฮุนได เอาชนะ “บีจีปทุม” 2-0 การพบกันในครั้งที่ 2 ยังเป็นอุลซาน ฮุนได ที่ทำได้ดีกว่า ออกนำก่อนนาทีที่ 31 จาก คิม มิน จุน เกมครึ่งหลัง นาทีที่ 87 อุลซาน ฮุนได ได้ประตูที่2 ในเกมนี้ จาก วาเลรี่ คาซาเอียชวิลี่ จนครบ 90 นาที อุลซาน ฮุนได เอฟซี เอาชนะ บีจีปทุม เก็บชัยชนะ 6 เกม ในรอบแบ่งกลุ่ม เอฟ
สำหรับ“บีจีปทุม” แม้จะแพ้ในเกมนี้แต่ยังเป็นทีมอันดับ 2 ที่ดีที่สุด 3 ทีมจาก 5 กลุ่ม ทำได้ 12 คะแนน ผ่านเข้าสู่รอบ 16 ทีมสุดท้าย โดยจะเข้าไปพบกับ ชุนบุค ฮุนได มอเตอร์ส ทีมอันดับ 1 ของกลุ่ม เอช จากประเทศเกาหลีใต้ ในรอบต่อไป โดยในรอบดังกล่าวจะแข่งขันสนามกลาง ส่วนวันและเวลาการแข่งขันอย่างเป็นทางการจะมีการประกาศจากทางสหพันฑ์ฟุตบอลเอเชีย ( เอเอฟซี) ต่อไป
ฟุตบอล เอเอฟซีแชมเปี้ยนส์ลีก สโมสรฟุตบอลจากไทยที่ได้สิทธิ์เข้าแข่งขัน ประกอบด้วย บีจี ปทุม ยูไนเต็ด , เชียงราย ยูไนเต็ด ,การท่าเรือ เอฟ.ซี. และราชบุรี เอฟซี โดยมี บีจีปทุม เพียงทีมเดียว ที่ผ่านเข้ารอบ
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.