Football Sponsored

เช็กผลงานทีมไทยในถ้วยเอเชีย รอลุ้นบีจีปทุมฯไปไกลแค่ไหน? – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

ลูกหนังชิงแชมป์สโมสรเอเชีย ฤดูกาล 2021 หรือ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก  ที่บดแข้งกันอยู่ขณะนี้ สโมสรจากไทยได้เข้าร่วมถึง 4 ทีม คือ ทีมอันดับ 1-4 จาก เลกแรกของไทยลีก 1 ฤดูกาล 2020 ที่ผ่านมา

    บีจีปทุมฯ กับ การท่าเรือฯ อันดับ 1-2 ที่ได้เล่นรอบแบ่งกลุ่มโดยอัตโนมัติ ขณะที่อีก 2 ทีม คือ สิงห์ เชียงรายฯ กับ ราชบุรีฯ อันดับ 3-4 นั้นเดิมทีต้องฝ่าฟันจากรอบเพลย์ออฟ แต่โชคดีส้มหล่น มีบางทีมถอนทีมไม่เข้าร่วมเลยทำให้2 ทีม ได้เล่นรอบแบ่งกลุ่ม ไปด้วย

    ล่าสุด การท่าเรือ, สิงห์เชียงรายฯ และ ราชบุรีฯ ตกรอบแบ่งกลุ่มไปหมดแล้ว  

    เหลือแค่ “กระต่ายแก้ว” บีจีปทุม ยูไนเต็ด แชมป์เลกแรกและแชมป์ของไทยลีก 1 ฤดูกาล 2020 ที่ผ่านมาที่แน่นอนแล้วว่า ผ่านรอบแบ่งกลุ่ม เข้าไปสู่รอบ 16 ทีมสุดท้ายแน่นอนแล้ว  

    เหลือรอลุ้นว่าจะได้ไปได้ไกลกว่า รอบ 16ทีมหรือไม่ที่จะเล่นแค่นัดเดียวหาทีมชนะผ่านเข้าสู่รอบ 8 ทีมสุดท้ายต่อไป โดยจะเข้าไปพบกับตัวแทนจากโซนตะวันตก ซึ่งต้องลุ้นผลจับสลากประกบคู่อีกที 

    สรุปผลงานทีมจากไทยในฟุตบอลถ้วยเอเชียนับจากปี 2003 -2021

    ปี 2003  บีอีซีเทโรฯ – รองแชมป์เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2003 โอสถสภา ฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2004 ธ.กรุงไทย – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2004 บีอีซี เทโรฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2005 ธ.กรุงไทย – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2005 บีอีซีเทโรฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2006 พนักงานยาสูบ – ไม่ได้แข่งส่งชื่อไม่ทัน

    ปี 2006 กฟภ. – ไม่ได้แข่งส่งชื่อไม่ทัน

    ปี 2007 ม.กรุงเทพ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก  

    ปี 2007 โอสถสภาฯ – จบที่ 3 ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี คัพ 

    ปี 2008 ชลบุรี – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2008 ธ.กรุงไทย – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2009 กฟภ. – ไม่ผ่านเพลย์ออฟเอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก / จบที่ 3 ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี คัพ

    ปี 2009 ชลบุรี – ตกรอบ 8 ทีมเอเอฟซี คัพ

    ปี 2010 เมืองทองฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก / ตกรอบรองฯ เอเอฟซี คัพ

    ปี 2010 การท่าเรือ – ตกรอบ 8 ทีมเอเอฟซี คัพ

    ปี 2011 เมืองทองฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก / ตกรอบ 8 ทีมเอเอฟซี คัพ

    ปี 2011 ชลบุรี – ตกรอบ 8 ทีมเอเอฟซี คัพ

    ปี 2012 บุรีรัมย์ฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2012 ชลบุรี – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก / ตกรอบรองฯ เอเอฟซี คัพ

    ปี 2013 เมืองทองฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2013 บุรีรัมย์ฯ – ตกรอบก่อนรองฯ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2014 บุรีรัมย์ฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2014 เมืองทอง – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2014 ชลบุรีฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2015 บุรีรัมย์ฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2015 ชลบุรีฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2015 บางกอกกล๊าส – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี2016 บุรีรัมย์ฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2016 เมืองทอง – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2016 ชลบุรีฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2017 เมืองทองฯ – ตกรอบ 16 ทีม  เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2017 สุโขทัยฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2018 บุรีรัมย์ฯ – ตกรอบ 16 ทีม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2018 สิงห์เชียงราย – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2018 เอสซีจี เมืองทองฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2019 บุรีรัมย์ฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2019 สิงห์เชียงราย – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2019 แบงค็อกฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ  เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2020 สิงห์เชียงราย – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2020 บุรีรัมย์ฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2020 การท่าเรือฯ – ไม่ผ่านเพลย์ออฟ เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2021 การท่าเรือฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2021 สิงห์เชียงรายฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2021 ราชบุรีฯ – ตกรอบแบ่งกลุ่ม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    ปี 2021 บีจีปทุมฯ  – ล่าสุดเข้ารอบ 16 ทีม เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก

    สรุปทีมที่เคยลงแข่งขันบอลถ้วยเอเชีย นับจากปี คศ. 2003- 2021  

    บีอีซีเทโรฯ –  เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 3   

    โอสถฯ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 1 / เอเอฟซี คัพ 1

    ธ.กรุงไทย – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 3

    ม.กรุงเทพ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 1

    ชลบุรี – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 4 (ไม่ผ่านเพลย์ออฟ 3) / เอเอฟซี คัพ 3 

    กฟภ. – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 1( เพลย์ออฟ) / เอเอฟซี คัพ 1 

    เมืองทองฯ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 7( ไม่ผ่านเพลย์ออฟ 5) / เอเอฟซี คัพ 2 

    การท่าเรือ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2 (ไม่ผ่านเพลย์ออฟ 1) / เอเอฟซี คัพ 1 

    บุรีรัมย์ฯ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 8 ( ไม่ผ่านเพลย์ออฟ 1 )   

    บีจีปทุมฯ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2 ( ไม่ผ่านเพลย์ออฟ 1 )

    สุโขทัย – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 1 ( ไม่ผ่านเพลย์ออฟ )

    แบงค็อกฯ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 2 ( ไม่ผ่านเพลย์ออฟ2)

    สิงห์เชียงรายฯ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 4 (ไม่ผ่านเพลย์ออฟ 2 )

    ราชบุรีฯ – เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก 1

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.