“ราชบุรี เอฟซี” ตั้งเป้าเกมดวลยะโฮร์ขอชนะเพื่อกู้ชื่อ – คมชัดลึก
เสกสรร ศิริพงษ์ หัวหน้าผู้ฝึกสอนสโมสรฟุตบอล ราชบุรี เอฟซี ในไทยลีก 1 เปิดเผยว่า เกมนัดสุดท้ายของ “ราชบุรี เอฟซี ” ในฟุตบอล เอเอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก รอบแบ่งกลุ่ม กลุ่ม จี นัดที่ 6 นัดสุดท้าย แข่งกันวันพรุ่งนี้ ( 7 ก.ค. ) ที่ราชมังคลากีฬาสถาน เป้าหมายของ “ราชบุรี เอฟซี” คือทำผลงานเพื่อมีแต้ม
“ราชบุรี เอฟซี” ลงเล่นไปแล้ว 5 นัด ทำผลงาน เสมอ 1 แพ้ 4 รั้งท้ายของกลุ่ม คืออันดับ 4 ขณะที่อันดับ1 คือ นาโงย่าแกรมปัส จากญี่ปุ่น, อันดับ 2 โปฮังสตีลเลอร์ จาก เกาหลีใต้ และ อันดับ 3 ยะโฮร์ ดารุล ทักซิม จากมาเลเซีย ทั้งนี้ราชบุรี เอฟซี แพ้ 4 นัด กระทั่ง นัดล่าสุด 5 ก.ค. ราชบุรี เอฟซี เสมอกับ โปฮังสตีลเลอร์ 0-0 เก็บ 1 คะแนนแรกได้สำเร็จ
สำหรับเกมนัดสุดท้ายของ “ราชบุรี เอฟซี” โดยจะพบกับ ยะโฮร์ดารุล ทักซิม ผลงานของยะโฮร์ คือ ชนะ 1 เสมอ 4 ซึ่งจากการลงเล่นเป็น เกมนัดสุดท้ายของรายการนี้ เป้าหมาย ของราชบุรี เอฟซี จึงต้องการฝากไว้ ด้วยการเก็บ 3 คะแนน ให้ได้ “เราคาดหวังไว้ว่าแมตซ์สุดท้ายเราจะพยายามเก็บแต้มให้ได้ การพบกับทีมจากมาเซีย ซึ่งถือว่า อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเราที่สุด ถ้าหากว่าเทียบกับทีมที่เราเจอกับทีมจากญี่ปุ่นหรือจากเกาหลีใต้ มีมาตรฐานของผู้เล่นอยู่ในระดับที่สูงกว่า แต่การพบกับทีมจากมาเลเซีย เชื่อว่าระดับการเล่นนั้น ไม่แตกต่างกันมากราชบุรี เอฟซี น่าจะมีโอกาส “ เขา กล่าว
อนึ่ง ราชบุรี เอฟซี แพ้นัดแรกในรอบแบ่งกลุ่มให้กับ ยะโฮร์ ดารุล ทักซิม 1-0
ขอขอบคุณภาพ จาก สโมสรฟุตบอลราชบุรี เอฟซี
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.