อย่าโทษเขาเลย! ทิซังรับเห็นใจยูกิล่ามทีมชาติไทย – สยามกีฬา
“ทิซัง” ทิวาพล สังขพันธ์ ล่ามชาวไทยข้างกาย “เจ” ชนาธิป สรงกระสินธ์ ประจำสโมสรคอนซาโดเล่ ซัปโปโร ในเจลีก ออกมาเห็นใจ ธีรเนตร ยูกิ ทานากะ ล่ามทีมชาติไทย ในชุดสู้ศึกฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก หลัง สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย สรุปเหตุผล สาเหตุความล้มเหลวของทีมชาติ โดยหนึ่งในนั้น มีเรื่องของการสื่อสารของล่ามแปลภาษาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
“ผมเห็นหลายรายการจากการประชุมของสมาคมฟุตบอลล่าสุด แล้วไปลงเรื่องการสื่อสารว่าไม่เข้าใจ ผมอยากให้กำลังใจยูกิมากๆ เพราะคนทำงานสุดท้ายแล้วเค้าตั้งใจทุกคน ผมเป็นหนึ่งในนั้น แต่อยากบอกยูกิว่า คนเราไม่ได้มีเรื่องที่ถนัดในทุกเรื่องนอกจากเราจะต้องเข้าไปอยู่ในวงการสามสี่ปีแล้วจะอิน ครั้งนี้ยูกิไม่ได้ผิดอะไรเลยครับ อย่าไปโทษเขาเลย” ทิซัง โพสต์ข้อความในเฟสบุ๊ค
อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.