Football Sponsored

‘ ตั้ม’ ธีรภัทร ฮาร์ดคอตัวพ่อ”เสื้อบอล”ขอนแก่น เอฟซี – คมชัดลึก

Football Sponsored
Football Sponsored

 สำหรับแฟนบอลแล้วสิ่งที่ใกล้ตัวมากที่สุด   อันหมายถึงหมายการแสดงออกถึงความผูกพัน ที่มีให้กับทีมฟุตบอลที่รัก   และเป็นที่นิยมก็คือ  การมี “เสื้อบอล” ไว้ในการครอบครอง ไม่ว่าจะเป็นเสื้อแข่งในแบบชุดเหย้า และชุดเยือน  เสื้อที่สโมสรจัดทำในวาระพิเศษ หรือแต่เสื้อที่ผ่านการใช้งานแล้ว   และได้รับเสื้อตัวนั้นมาจากนักฟุตบอลที่ใส่ลงสนาม  จนเป็นคำศัพท์ที่รับรู้กันในหมู่คนที่ชื่นชอบว่า  ” แมตช์วอน”  ล้วนแต่เป็นสิ่งที่มีคุณค่า

การสะสม “เสื้อบอล” มี 2  แบบ คือ  สะสมเสื้อบอลในแบบที่เก็บไว้ไม่นำมาใส่  กับการนำมาใส่ตามแต่โอกาส   สำหรับที่ขอนแก่น  นักสะสมเสื้อบอล ที่น่าจะเข้าข่ายจัดว่าเป็นฮาร์ดคอร์ ต้องยกให้  “ตั้ม” ธีรภัทร แก้วศิริบัณฑิต   วัย 46  ปี    แฟนคลับ สโมสรฟุตบอลขอนแก่น เอฟซี ( เดอะทีเร็กซ์) ทีมในไทยลีก 2  

” ตั้ม” ธีรภัทร  เริ่มสะสม “เสื้อบอล” ทีมฟุตบอลขอนแก่น เอฟซี นับตั้งแต่ฤดูกาล 2015  เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน คือ  ฤดูกาล 2021  มีเสื้อเฉพาะสโมสรฟุตบอลขอนแก่น เอฟซี ทั้งชุดแข่ง เหย้า- เยือน  ที่หมายถึง หาซื้อมาเอง  รวมถึงเสื้อที่ได้มาจากนักฟุตบอล  ที่ยินดีมอบให้รวมแล้วมากกว่า 100  ตัว เฉพาะขอนแก่น เอฟซี   

ขณะที่จำนวนเสื้อโดยรวมที่ ” ตั้ม” ธีรภัทร  สะสมจนมาถึงปัจจุบัน มีมากกว่า 800  ตัว  ทั้งเสื้อบอลทีมชาติไทย  เสื้อสโมสรฟุตบอลอื่น ๆ  เพราะการเป็นนักเดินทาง ตามไปเชียร์ทีมฟุตบอลขอนแก่น เอฟซี   รวมถึงการชื่นชอบฟุตบอลอยู่ในสายเลือด  ทำให้เสื้อบอล ที่ “ตั้ม” ธีรภัทร สะสม  มีครอบคลุมไปถึงทุกทีม ตามแต่จังหวะหรือโอกาสจะเอื้ออำนวย  ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลก ที่  “ตั้ม” ธีรภัทร จะเดินทางจากขอนแก่น มาที่ปทุมธานี  เพื่อชมการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก ในคู่ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด 

ทำให้ ของฝากที่ได้กลับไปขอนแก่นในบางครั้ง จึงมีทั้งเสื้อทีมบีจี ปทุม ยูไนเต็ด หรือ แม้แต่เสื้อแมตช์วอน ที่ได้มาจากนักฟุตบอลบีจี ปทุม ยูไนเต็ด   ในมุมของคนที่ชื่นชอบการสะสมเสื้อบอลแล้ว  นี่คือความสุข   เป็นความสุขทางใจที่ได้รับ   เพราะเสื้อบอล ก็คือสิ่งที่เป็นตัวแทนของสโมสรนั้นๆ  เป็นเหมือนวัตถุทางประวัติศาสตร์ ( ในมุมของแฟนบอล )  จึงเป็นที่มาในการแสวงหาของสะสมประเภทนี้   โดยเฉพาะเสื้อที่ออกมาในรุ่นแรก   เช่นฤดูกาล 2015   เสื้อบอลของทีมขอนแก่น  เอฟซี

ที่  “ตั้ม”ธีรภัทร มีไว้ในความครองครอง ราคาในหมู่นักสะสมแล้ว  ก็แตะหลักพันบาทขึ้นไป    จึงเป็นภาพสะท้อนให้เห็นว่าเสื้อบอล ยิ่งหายาก ยิ่งมีราคาสูง  และเป็นที่ต้องการในหมู่นักสะสมอย่างแท้จริง    ความน่าสนใจในการสะสมของ “ตั้ม” ธีรภัทร   เฉพาะขอนแก่น   เอฟซี  แล้ว นั่นคือความพยายามที่ จะขอเสื้อจากนักฟุตบอลทั้งทีม  เพื่อให้การสะสมเสื้อแมตช์วอน มีประจำฤดูกาล   การเห็นเบอร์ เสื้อ และชื่อนักฟุตบอล อยู่ด้านหลังเสื้อ  ยิ่งสะสมได้จนเกือบครบทุกคน  ยิ่งเป็นความภาคภูมิใจของนักสะสมในการอดทน และใช้เวลาเพื่อให้ได้มา

 จำนวนเสื้อบอล ที่มีอยู่กว่า 800 ตัว ทั้งขอนแก่น  เอฟซี    เสื้อทีมชาติ  ไปจนถึงเสื้อสโมสรอื่นๆ  ที่เก็บสะสมไว้ที่บ้านพักในอำเภอเมือง  จังหวัดขอนแก่น  ในมุมของ  “ตั้ม” ธีรภัทร   เชื่อว่าหากคิดเป็นมูลค่าเงิน ที่จ่ายไปตลอด  16  ปี  น่าจะแตะหลักล้านบาท  ที่เขาจ่ายไป เพื่อให้ได้มา อันรวมไปถึงเป็นค่าใช้จ่าย ในการเดินทางไปยังสนามแข่งขันในแต่ละพื้นที่  

ทั้งหมดที่เกิดขึ้นสำหรับแฟนบอลรายนี้  และแฟนบอลส่วนใหญ่ ที่เป็นนักสะสมเสื้อบอล  คำตอบเดียวที่บอกกับตัวเองได้ นี่คือความสุขอย่างแท้จริง  ความสุขทางใจที่สัมผัสได้  ในฐานะแฟนบอลหรือคนรักบอล ที่มีฟุตบอลอยู่ในสายเลือด การนำเสื้อบอลที่มีอยู่มาใส่ เพื่อไปเชียร์ทีมฟุตบอลที่รัก  หรือนำเสื้อที่เก็บสะสมมาเผยแพร่ให้คอบอลด้วยกัน รับรู้ถึงรสนิยมในการเป็นนักสะสม คือความภูมิใจ    รวมทั้งผู้ชายวัย 46 ปี คนนี้ “ตั้ม” ธีรภัทร แก้วศิริบัณฑิต  จากขอนแก่น เอฟซี 

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.