Football Sponsored

‘โค้ชธง’ เทียบชัดๆสไตล์ฟุตบอล ‘นิชิโนะ-ซิโก้’ ต่างกันอย่างไร – ข่าวสด

Football Sponsored
Football Sponsored

‘โค้ชธง’ ตอบคำถามแฟนฟุตบอล ผ่านทางช่องยูทูบ เทียบชัดๆสไตล์การคุมทีมฟุตบอล ระหว่าง ‘นิชิโนะ-ซิโก้’ ชี้แตกต่างกันที่ความเสี่ยง

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

หลังเกมที่ทีมชาติไทย พ่ายแพ้ให้กับ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) 3-1 ในฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบสองกลุ่มจี ที่ซาบีล สเตเดียม เมื่อช่วงดึกวัน 7 มิ.. ทำให้หมดลุ้นเข้ารอบ 12 ทีมแน่นอนแล้ว

“โค้ชธง” ธงชัย สุขโกกี กุนซือนครปฐม ยูไนเต็ด แสดงความคิดเห็นตอบคำถามแฟนบอลทางบ้าน ผ่านทางยูทูบ ทีมชาติไทย สไตล์นิชิโนะ_ โค้ชธง นครปฐม เกี่ยวกับสไตล์การคุมทีมของ อากิระ นิชิโนะ กุนซือทีมชาติไทย กับ “ซิโก้” เกียรติศักดิ์ เสนาเมือง อดีตศูนย์หน้า และ อดีตโค้ชทีมชาติไทย ที่ปัจจุบันรับงานคุมทีมสโมสร ทีมหว่างแอง ยาลาย ในประเทศเวียดนาม

โดย ‘โค้ชธง’ ระบุว่า สไตล์บอลของ ซิโก้ และ อากิระ นิชิโนะ ต่างกันที่ความเสี่ยง อากิระ นิชิโนะ ละเอียดกว่าในการเล่นเกมรับ เสี่ยงน้อยกว่า เซฟกว่า เล่นรับใจเย็น อดทน

แต่ของ ซิโก้ เสี่ยงมากกว่า เกมรุกดีกว่า จะเป็นฟุตบอลที่เอ็นเตอร์เทนกว่า เกมรุกบอลแลกกว่า แต่เกมรับก็มีปัญหา หมายถึงในยุคก่อน แต่ตอนนี้ไม่รู้ว่าเป็นแบบไหนแล้ว แต่ผลงานที่เวียดนามก็คิดว่าน่าจะพอได้

แต่ในส่วนเกมรุก ซิโก้ มี Combinationplay (การร่วมเล่น โดยใช้ความสัมพันธ์ของคนมีบอลและไม่มีบอล) ที่ดีกว่า ซึ่งตรงจุดของ นิชิโนะ ไม่มี

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.