Football Sponsored

ปธ.พิษณุโลกจี้ส.บอลแจงเหตุตัดงบโครงการFAกว่า100ล้าน รับทีมที3ลำบากหนัก – สยามกีฬา

Football Sponsored
Football Sponsored

ปธ.พิษณุโลก สะท้อนภาพชัด ปัญหาการเงินทีมไทยลีก3 งบ100กว่าล้าน โครงการFA เหมือนโยนระเบิดลูกใหญ่ ส.บอลฯต้องให้เหตุผล ไม่ใช่อยู่ๆประกาศเฉยๆว่าไม่จ่าย

    จากประเด็นที่ ส.บอลฯ ประกาศออกมาอย่างเป็นทางการว่า งบประมาณในการแข่งขันฤดูกาล 2021-22 ทาง ส.บอลฯ จะขอตัดงบ fa development ออกไปก่อน โดยจะทำให้ทีมไทยลีก1 เงินสนับสนุนหายไปทีมละ 5 ล้านบาท ส่วนทีมไทยลีก2และไทยลีก3หายไปทีมละ 1 ล้านบาท ซึ่งยังไม่รวมถึงปัญหาเรื่องผู้ถือลิขสิทธิ์การแข่งขันฟุตบอลลีกที่ถึงตอนนี้ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเจ้าใหม่จะเป็นใคร 

    ล่าสุดทางด้าน “บอสต้น” ศิริพงษ์ ฐาราชวงศ์ศึก ประธานสโมสร พิษณุโลก เอฟซี 1 ในสโมสรสมาชิกไทยลีก3โซนภาคเหนือได้แสดงความเห็นส่วนตัวผ่านเฟสบุ๊กส่วนตัว “Ton Siripong” ถึงการสะท้อนภาพอย่างชัดเจนถึงปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับสโมสรสมาชิกกับวิกฤตที่เกิดขึ้นในตอนนี้ว่า 

    “ปกติ แต่ละสโมสรใน….”

    “T1 ได้เงินสนับสนุน 20ล้าน +เงิน fa development อีก 5ล้าน”

    “T2 ได้เงินสนับสนุน 3ล้าน + เงิน fa development อีก 1ล้าน”

    “T3 ได้เงินสนับสนุน 1ล้าน + เงิน fa development อีก 1ล้าน”

    “แต่พอตอนนี้สมาคมฟุตบอลประกาศว่าปีนี้ทุกทีม ทุกลีกจะไม่ได้เงิน fa development มันเหมือนระเบิดลูกใหญ่ที่โยนใส่สโมสร โดยเฉพาะสโมสรระดับ T3 เงิน 1ล้านที่หายไป มันมีค่ามหาศาล”

    “เงิน 1ล้านที่หายไป สำหรับบางทีมสามารถจ้างนักเตะได้ 2-4เดือน (เงิน fa development มีวัตุประสงค์ให้สโมสรนำไปปรับปรุงสาธารณูปโภคต่างๆของสโมสร เช่น ปรับปรุงห้องพัก ทำไฟส่องสว่าง ปรับปรุงพื้นสนาม ปรับปรุงสนามซ้อมหรือ อคาเดมี่ เป็นต้น แต่ตรงนี้ขอเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าเงิน 1ล้านสามารถทำอะไรได้บ้าง เลยขอเปรียบเทียบจากการจ่ายเงินเดือนนักเตะ ซึ่งอาจจะไม่ตรงกับวัตถุประสงค์ของการให้เงิน)”

    “บางทีมเริ่มเตรียมทีมกันแล้ว โดยนำงบ fa development ที่ควรจะได้ มาคำนวนบวกในรายจ่ายของสโมสรที่จะใช้ในฤดูกาลที่จะถึง พอตอนนี้สมาคมประกาศว่าไม่ให้ บรรดาเจ้าของทีมต่างนอนเอามือก่ายหน้าผาก ว่ากูจะไปหาเงิน 1ล้านจากที่ไหนมาทดแทน เพื่อให้ทีมสามารถเดินต่อไปได้ โดยไม่ต้องไปขอลดเงินเดือนนักเตะ+ทีมงาน”

    “สมาคมอย่าลืมว่าฤดูกาลที่ผ่านมา บรรดาทุกทีมใน T3 เป็นลีกเดียวที่ไม่ได้รับเงินสนับสนุนเลยสักบาทเดียว แต่พวกเราก็ยอมส่งทีมลงแข่ง เพื่อให้วงการฟุตบอลโดยรวมเดินต่อไปได้ นักเตะได้มีงานทำ” 

    “การที่สมาคมประกาศไม่จ่ายเงินก้อนนี้ สมาคมควรจะชี้แจงว่าเอาเงินไปทำอะไร เพราะเงินที่หายไปรวมๆกันแล้วมากกว่า 100 ล้านบาท”

    “T1 ทีมละ 5ล้าน 16 ทีม = 80ล้าน

    “T2 ทีมละ 1ล้าน 18 ทีม = 18ล้าน”

    “T3 ทีมละ 1ล้าน 60-70ทีม =60-70ล้าน”

    “รวมแล้วประมาณเกือบ 170ล้าน”

    “ทั้งๆที่สมาคมได้เงินจากการประมูลลิขสิทธิการถ่ายทอดสดมากกว่าเดิม (ถึงแม้ตอนนี้จะมีปัญหากับ zense อยู่ก็ตาม)”

    “อยากให้สมาคมออกมาบอกเหตุผลที่ชัดเจน ว่าไม่จ่ายเงินก้อนนี้เพราะอะไร ถ้าเหตุผลฟังขึ้นผมเชื่อว่าทุกสโมสรจะเข้าใจ ดีกว่าประกาศออกมาเฉยๆว่าไม่จ่าย แล้วก็ไม่มีเหตุผลใดๆอธิบาย”

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.