รางวัลของผู้ชนะ “ป็อกบา” หนุน “ก็องเต” ผงาดคว้าบัลลงดอร์ – ไทยรัฐ
เอ็นโกโล ก็องเต มิดฟิลด์จอมขยันของทีมเชลซี คือหนึ่งในแข้งที่ทำผลงานได้อย่างคงเส้นคงวา และยอดเยี่ยมมาโดยตลอด รวมถึงในฤดูกาล 2020-21 ก็เป็นหนึ่งในคีย์แมนคนสำคัญ ที่มีส่วนช่วยให้ “สิงห์บลู” เชลซี ก้าวขึ้นไปครองแชมป์ยูฟ่า แชมเปียนส์ลีก ได้สำเร็จ
ทำให้ล่าสุด ป็อกบา ออกโรงอวยมิดฟิลด์ร่างเล็กวัย 30 ปีว่า คู่ควรกับการครองรางวัลเกียรติยศอย่าง “บัลลังดอร์” ประจำปีนี้ เพราะมีผลงานที่โดดเด่นและเด่นชัดกว่าแข้งรายอื่น
“สิ่งที่ผมอยากจะบอกคนทั้งโลกคือ “NG” (ก็องเต) ที่เราได้เห็นในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา ยังคงเหมือนเดิมเสมอ เราคุยกันเยอะมากเกี่ยวกับผลงานของเขา และเขาเองก็ยังทำได้ดีเหมือนเคย”
“การไม่มี คริสเตียโน (โรนัลโด) และ เมสซี ในรอบตัดเชือกแชมเปียนส์ลีก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสดี ที่เราได้เห็นฟอร์มของผู้เล่นคนอื่น ทั้งในตำแหน่งมิดฟิลด์และแนวรับ”
“ผมเคยพูดไปนานแล้วนะว่า หากเชลซีคว้าถ้วยแชมเปียนส์ลีก เขาเองก็ควรได้รางวัลบัลลงดอร์เช่นกัน เพราะ ก็องเต มีฟอร์มที่ยอดเยี่ยมเสมอ ผมไม่แปลกใจเลยกับสิ่งที่เขาทำ แต่ผมเคยแปลกใจในฟอร์มการเล่นของเขา ที่มันคงเส้นคงวาอยู่ตลอดมากกว่า” ป็อกบา กล่าวกับ Eurosport.
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.