“เชลซี-เลสเตอร์” โดนปรับเงิน จากเหตุชุลมุนนัดรองสุดท้ายของซีซั่น – ไทยรัฐ
เอฟเอสั่งปรับเงินสิงห์-จิ้งจอก ในอัตราที่พอหอมปากหอมคอ จากเหตุชุลมุนท้ายเกมนัดรองสุดท้ายของฤดูกาล ที่สแตมฟอร์ด บริดจ์
เหตุการณ์ดังกล่าว เกิดขึ้นในช่วงท้ายเกมนัดที่ เชลซี เปิดบ้านเอาชนะ เลสเตอร์ ซิตี้ 2-1 เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคมที่ผ่านมา เมื่อ ริคาร์โด เปเรย์รา เสียบหนักเข้าใส่ เบน ชิลเวลล์ ทำให้ อันโตนิโอ รูดิเกอร์ ไม่พอใจจะหรี่เข้าไปเอาเรื่อง จากนั้นผู้เล่นทั้งสองทีมก็กรูเข้ามาร่วมผสมโรงจนเกิดความวุ่นวายขึ้น
ทำให้หลังจบเกม สมาคมฟุตบอลอังกฤษ หรือ เอฟเอ (FA) ต้องตั้งข้อหาเพื่อเอาผิดทั้งสองสโมสร ที่ไม่สามารถควบคุมนักเตะและทีมงาน ในอยู่ในความสงบระหว่างเกมได้
กระทั่งล่าสุด เอฟเอ ได้ประกาศบทลงโทษออกมาแล้ว ด้วยการสั่งปรับเงินทีมละ 22,500 ปอนด์ (ประมาณ 1 ล้านบาท) โดยอ้างอิงกฎระเบียบของเอฟเอ ในมาตรา E20.1 และมีการแถลงการณ์ว่าทั้ง 2 สโมสรได้ยอมรับในความผิดพลาดดังกล่าว พร้อมยืนยันจะไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้ขึ้นอีกในอนาคต.
Regulation and Discipline update on @ChelseaFC and @LCFC pic.twitter.com/tUTNDCTW6Q
— FA Spokesperson (@FAspokesperson) June 1, 2021
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.