Football Sponsored

พ่อมิลโก -ลูกมาริโอ กับรอยเท้าที่ย่ำตามกัน

Football Sponsored
Football Sponsored

หลังก้าวเข้ามาทำงานเป็นเฮดโค้ชให้กับสโมสรฟุตบอล เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด 17 นัด คุมทัพทั้งฟุตบอลลีกและฟุตบอลถ้วย มาริโอ ยูรอฟกี้ อดีตทีมชาติมาซิโดเนีย พาทีมเก็บชัยชนะ 11 เกม เสมอ 3 แพ้ 3 พร้อมกับพาทีมกลับขึ้นมาติดท๊อปโฟร์ไทยลีกฤดูกาล 2020-21 รวมไปถึงพาทีมผ่านเข้าสู่รอบก่อนรองชนะเลิศ เอฟเอ คัพ กลายเป็นทีมที่น่าจับตามองในเรื่องของวิธีการเล่นในสนามและการจัดการในเชิงเทคนิค ช่วงเวลาค้าแข้งให้กับเมืองทองเขาคือตำนานผู้เล่นที่ยิ่งใหญ่และกำลังต่อยอดสานตำนานของตัวเองในฐานะหัวหน้าผู้ฝึกสอนในแนวทางการเล่นที่ชัดเจนสนุก,ตื่นเต้น,เร้าใจ

    จะว่าไปแล้วเส้นทางฟุตบอลของยอดแข้งเจ้าของฉายา”เกรียนโอ้”ผู้โล่มาสร้างสีสันในวงการฟุตบอลไทยมีเส้นชีวิตลูกหนังคล้ายๆกับพ่อของเขาที่ลงเล่นในตำแหน่งเกมรุกรวมไปถึงช่วงหลังรีไทร์หันไปเอาดีทางด้านการคุมทีมฟุตบอลกลายเป็นเส้นทางการต่อยอดความสามารถหลังเลิกเล่นของอดีตนักเตะคู่พ่อลูกสโมสรเร้ดสตาร์ เบลเกรด รวมไปถึงทีมชาติมาซิโดเนีย แต่เส้นทางลูกชายยอดนักเตะกำลังไปได้สวยในการเป็นโค้ชจนถึงขั้น “มิซ่า”มิไฮโล เปรโตวิซ  กุนซือชาวเซอร์เบียของ คอนซาโดเล ซัปโปโร ศึกเจลีก ที่เป็นเพื่อนชี้กับ มิลโก ยูรอฟกี้  ผู้พ่อมักถามไถ่ถึงผลงานลูกชายเพื่อนรักเสมอผ่าน “ทิซัง”ทิวาพล สังขพันธ์ ล่ามข้างกาย ชนาธิป สรงกระสินธ์  

    สำหรับ มิลโก ยูรอฟกี้ คือผู้เล่นระดับตำนานของสโมสรฟุตบอลเรดสตาร์ เบลเกรด ลงรับใช้สโมสรเกินร้อยนัดพร้อมกับพาทีมคว้าแชมป์ หลังจากนั้นก็ตระเวนค้าแข้งไปอีกหลายทีมในหลายลีก ก่อนที่จะผันตัวเองก้าวไปคุมทัพสโมสรเซเรนิการ์ มาริบอร์(สโลวีเนีย) และมีโอกาสเป็นทั้งผู้เล่นและโค้ชในทีมรูดาร์ ในลีกบอสเนีย  ก่อนที่จะเดินหน้ารับงานโค้ชเต็มตัวบนเส้นทางสโมสรมาเรคนิค,ดราวา,นาฟตา,มาริบอร์,ซาวิคจนถึง เวอร์เซซ บนเส้นทางฟุตบอลเต็มไปด้วยประสบการณ์ความสนุกและความสุขที่แสดงออก ซึ่ง มาริโอ ยูรอฟกี้ก็ต่อยอดเจตนารมณ์ลูกหนังของ มิลโก ยูรอฟกี้ ผู้พ่อได้เป็นอย่างอย่างดีในฐานะโค้ช เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.