Football Sponsored

“อบจ.นครพนม”แจงเหตุผลรื้อ 2 สนามเปตอง หลังเจรจารื้อแต่สนามเดียว – สยามรัฐ

Football Sponsored
Football Sponsored

จากกรณีมีข่าวเรื่อง ผู้บริหาร อบจ.นครพนม สั่งเจ้าหน้าที่รื้อสนามเปตองภายในสนามกีฬาจังหวัดนครพนม จึงเป็นเหตุให้เกิดข้อสงสัยว่า คำสั่งดังกล่าวมีเจตนาอะไรและประชาชนที่เล่นกีฬาเปตอง จะใช้สนามที่ไหน จนเป็นที่พูดถึงกันในหมู่สังคมออนไลน์ ทั้งที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย ผู้สื่อข่าวจึงได้ลงพื้นที่สำรวจสนามกีฬาจังหวัดนครพนม และขอคำชี้แจงจากผู้บริหารของ อบจ.นครพนม โดยมีข้อมูลนำเสนอดังนี้

จากการลงพื้นที่ ในสนามกีฬาจังหวัดนครพนม มีสนามเปตอง อยู่ทั้งหมด 25 สนาม ซึ่งในโซนแรกมี 23 สนาม ในโซนที่ 2 มี 2สนาม (ปัจจุบันเหลืออยู่ 1 สนาม) ระยะห่างระหว่างโซนที่ 1 และ โซนที่ 2 ห่างกันประมาณ 20 เมตร จากการสอบถาม เจ้าหน้าที่ประจำสนาม ได้ข้อมูลว่า โดยปกติในตอนเย็น จะมีประชาชนมาเล่นเปตอง กันพอสมควร โดยจะมีเล่นในพื้นที่โซนที่ 1 และ โซนที่ 2

แต่เนื่องจากเดิมนั้น บริเวณโซนที่ 2 เป็นโซนที่เรียกได้ว่าโซน VIP โดยจะมีผู้เล่นประจำมาเล่น และมักใช้เป็นพื้นที่สังสรรค์ เนื่องจากเป็นโซนที่มีหลังคาและอยู่ติดกับอาคาร ซึ่งเจ้าหน้าที่สนามได้ให้ข้อมูลอีกว่า เคยมีการมั่วสุมเล่นการพนัน (ไฮโล) และดื่มสุรา เมื่อเจ้าหน้าที่ไปตักเตือนก็จะเกิดปัญหาตลอด และเคยมีหนังสือรายงานผู้บังคับบัญชาแล้ว

ต่อมา ผู้บริหารจึงได้สั่งการให้รื้อ 2 สนามดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่า สนามกีฬาเปตอง มีอยู่ 23สนาม ซึ่ง อบจ.นครพนม มีโครงการจะพัฒนาและปรับปรุงให้ได้มาตราฐาน ซึ่งที่ผ่านมาได้ดำเนินการประสานของบประมาณจาก กกท.ไปแล้ว โดยเป็นงบประมาณที่จะพัฒนาสนามกีฬาในภาพรวม เพื่อให้เกิดประโยชน์กับชาวนครพนมทุกคน ในส่วนสนามเปตองโซน VIP นั้น ได้มีการทำขึ้นมาโดยใช้พื้นที่ถนนด้านหลังอาคาร และมีการต่อเติมหลังคา ซึ่งไม่ได้อยู่ในแบบหรือมีการขออนุญาตให้ถูกต้อง กอปรกับที่ผ่านมาเคยเกิดปัญหาตามที่ได้รับรายงาน

ล่าสุด วันศุกร์ 28 พ.ค.64 ประธานชมรมเปตองจังหวัดนครพนม พร้อมคณะ ได้เข้าพบนายกฯขวัญ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครพนม โดยมีผู้บริหารของ อบจ.เข้าร่วมหารือ ซึ่งบรรยากาศจบลงด้วยความชื่นมื่น ซึ่งทางประธานชมรมเปตองจังหวัดนครพนม ได้ยอมรับว่า ในโซนสนาม VIP 2 สนาม เคยเกิดเหตุที่ไม่เหมาะสมขึ้นจริง แต่นับจากนี้ตนและสมาชิกในชมรมจะช่วยกันกวดขันไม่ให้เกิดเหตุเช่นนี้ขึ้นอีก แต่จะขอสนามเปตองในส่วนที่มีหลังคาเอาไว้ เพื่อให้นักเปตองอาวุโสและประชาชนอาวุโสได้ใช้เล่น ซึ่งนายกฯขวัญ ได้ยินดีตอบรับตามข้อเสนอ อีกทั้งทาง อบจ.ได้ดำเนินการติดตั้งตู้น้ำเย็นให้อีก 1 ตู้ สำหรับสนาม VIP อีก 1 สนาม ทาง อบจ.จะขอรื้อออก โดยจะขอให้ไปเล่นบริเวณโซน 1 ซึ่งมี 23 สนามแทน
และในการหารือครั้งนี้ ได้มีการพูดคุยกันถึงแผนที่จะพัฒนาสนามกีฬาจังหวัดนครพนม ในระยะยาวอีกด้วย

นายกฯขวัญ ได้กล่าวทิ้งท้ายว่า เจตนาของผู้บริหาร อบจ.นครพนม คือ ต้องการพัฒนาในภาพรวม ซึ่งในบางครั้งอาจจะไม่ถูกใจคนบางกลุ่ม แต่หน้าที่ของ อบจ.คือต้องดูแลคนทั้งจังหวัด ในส่วนของเรื่องสนามกีฬาและการกีฬา อยากให้พ่อแม่พี่น้อง อดทนอีกสักนิดจะได้เห็นความเปลี่ยนแปลงแน่นอน”

ที่น่าจับตามองเป็นพิเศษ คือ อบจ.นครพนม ได้ ประธานที่ปรึกษาฯ ซึ่งเป็นคนกีฬา อย่างแท้จริง อีกทั้งมีประสบการณ์โชกโชนในด้านกีฬามาอย่างมากมาย ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ว่าจะเคยเป็นเจ้าของสโมสรฟุตบอล เจ้าของค่ายมวย และเป็นเจ้าลิขสิทธิ์ การแข่งขันรถฟอร์มูลล่า อี อีกด้วย

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.