เอาแล้ว “ยูฟ่า” สั่งสอบ 3 ทีมดังหลังยังไม่ยอมถอนตัวจาก “ซูเปอร์ลีก” – ไทยรัฐ
“สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป” หรือ “ยูฟ่า” ได้เริ่มต้นทำการสอบสวนทางวินัยอย่างเป็นทางการกับ 3 สโมสรชื่อดังที่ยังไม่ยอมถอนตัวออกจาก “ยูโรเปียน ซูเปอร์ลีก”
วันที่ 12 พ.ค. 64 “สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป” หรือ “ยูฟ่า” ได้เริ่มต้นทำการสอบสวนทางวินัยอย่างเป็นทางการกับ 3 สโมสรชื่อดังที่ยังไม่ยอมถอนตัวออกจาก “ยูโรเปียน ซูเปอร์ลีก” อันประกอบไปด้วย “ราชันชุดขาว” เรอัล มาดริด, “เจ้าบุญทุ่ม” บาร์เซโลนา 2 สโมสรจาก ลาลีกา สเปน และ “ม้าลาย” ยูเวนตุส ทีมดังจาก กัลโช เซเรียอา อิตาลี
เดิมทีนั้นมีอีก 9 สโมสรที่เคยร่วมก่อตั้งอย่าง “ปิศาจแดง” แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด, “เรือใบสีฟ้า” แมนเชสเตอร์ ซิตี้, “หงส์แดง” ลิเวอร์พูล, “สิงโตน้ำเงินคราม” เชลซี, “ปืนใหญ่” อาร์เซนอล, “ไก่เดือยทอง” ทอตแนม ฮอตสเปอร์, “ตราหมี” แอตเลติโก มาดริด, “งูใหญ่” อินเตอร์ มิลาน และ “ปิศาจแดงดำ” เอซี มิลาน แต่กระนั้นทีมเหล่านี้ได้ประกาศถอนตัวพร้อมทั้งทำสัญญายุติปัญหากับทางยูฟ่าไปตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาแล้ว
ทั้งนี้จากการที่ 3 สโมสรอย่าง “ราชันชุดขาว” เรอัล มาดริด, “เจ้าบุญทุ่ม” บาร์เซโลนา และ “ม้าลาย” ยูเวนตุส หากยังไม่ยอมถอนตัวออกจากทีม ยูโรเปียน ซูเปอร์ลีก นั่นทำให้พวกเขาเสี่ยงที่จะถูกลงโทษแบนเป็นระยะเวลาถึง 2 ปีเลยทีเดียว โดยอ้างอิงตามมาตรา 31 (ข้อ.4) ของกฎระเบียบวินัย ยูฟ่า นั่นเอง
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.