Football Sponsored

เปิดรายได้ ‘ธีราทร บุญมาทัน’ 4 ปีที่ญี่ปุ่นฟันไปแล้ว 52.2 ล้าน – มติชน

Football Sponsored
Football Sponsored

เปิดรายได้ ‘ธีราทร บุญมาทัน’ 4 ปีที่ญี่ปุ่นฟันไปแล้ว 52.2 ล้าน

“อุ้ม” ธีราทร บุญมาทัน นักเตะแบ๊คซ้ายทีมชาติไทย เดินหน้าค้าแข้งเป็นฤดูกาลที่ 4 แล้ว โดยปัจจุบันยังคงเป็นแกนหลักของสโมสรฟุตบอล โยโกฮามา เอฟ มารีนอส ยอดทีมในศึกฟุตบอลลีกสูงสุดของญี่ปุ่น

นอกจากจะเดินหน้าค้าแข้งต่อเนื่องแล้ว “อุ้ม”ยังเป็นนักเตะไทยคนแรกที่เดินหน้าคว้าแชมป์เจลีก 1 ได้เป็นคนแรก

แน่นอนว่าด้วยมาตรฐานการลงเล่นอย่างต่อเนื่องแถมได้รับความไว้วางใจเป็นแกนหลักในกราบซ้ายทำให้ชื่อเสียงของ ธีราทร ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากบรรดาแฟนบอลญี่ปุ่นและแฟนบอลชาวไทย

เมื่อฝีเท้าดีสม่ำเสมอสำหรับนักเตะอาชีพ เรื่องของผลตอบแทนในเรื่องของสัญญาการว่าจ้างทุกอย่างก็ดีตามมาด้วย ตั้งแต่ปี 2018 ที่มีโอกาสไปค้าแข้งยังประเทศญี่ปุ่นกับ สโมสร วิสเซล โกเบ ก่อนที่จะโยกมาเล่นให้กับ โยโกฮามา เอฟ มารีนอส

ธีราทร บุญมาทัน กลายเป็นผู้เล่นที่สร้างความยั่งยืนในเรื่องของความมั่นคงในชีวิตจากฝีเท้าของตัวเอง ตลอด 4 ฤดูกาล 2 สโมสร ทั้งกับ วิสเซิล โกเบ และ โยโกฮามา เอฟ มารีนอส

แบ๊คซ้ายทีมชาติไทยฟันค่าเหนื่อยในเรื่องของเงินเดือนรวมกันถึง 180 ล้านเยน หรือคิดเป็นเงินไทย 52.2 ล้านบาท ซึ่งเงินเดือนจำนวนนี้ถูกเปิดโดยเวบไซต์ soccer-money ของญี่ปุ่น รายได้ตรงนี้ยังไม่รวทรายได้อื่นๆ เช่นโบนัสแมตซ์วิน และการเป็นพรีเซนเตอร์สินค้าต่างๆ

รายได้ อุ้ม-ธีราทร บุญมาทัน 4 ฤดูกาลลีกญี่ปุ่น

2018 14.5 ล้านบาท/ปี

2019 8.7 ล้านบาท/ปี

2020 14.5 ล้านบาท/ปี

2021 14.5 ล้านบาท/ปี

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.