Football Sponsored

20 ทีมเท่าเดิม! พรีเมียร์ลีกไร้แผนปรับลดจำนวนทีม

Football Sponsored
Football Sponsored

ริชาร์ด มาสเตอร์ส ซีอีโอของพรีเมียร์ลีก ยืนยัน พวกเขาไม่มีแผนปรับลดจำนวนทีม ยืนยันพรีเมียร์ลีกจะแข่งกัน 20 ทีมต่อไป

ก่อนหน้านี้มีข้อเสนอจากโปรเจ็คต์ ‘Big Picture’ ถูกยื่นเข้ามาถึงพรีเมียร์ลีกเมื่อปีก่อน เพื่อปรับโครงสร้างของฟุตบอลลีกอังกฤษและสมาคมฟุตบอลอังกฤษ โดยหนึ่งในนั้นคือการลดจำนวนสโมสรในพรีเมียร์ลีกจาก 20 เหลือ 18 ทีม รวมถึงการยกเลิกถ้วยลีก คัพ และเกมคอมมิวนิตี้ ชิลด์

Editor Picks

  • แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ถ่ายช่องไหน? วิธีดูแมนฯ ยูฯ พบนิวคาสเซิล
  • ลิเวอร์พูล ถ่ายช่องไหน? วิธีดูลิเวอร์พูล พบเอฟเวอร์ตัน
  • ดาวซัลโวพรีเมียร์ลีก 2020-21
  • โปรแกรมถ่ายทอดสดฟุตบอล – ดูบอลสดคืนนี้ (พรีเมียร์ลีก, ไทยลีก, ลาลีกา, บุนเดสลีกา, แชมเปี้ยนส์ลีก, ฯลฯ)

“ในฐานะที่มันเป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบทางโครงสร้าง ถ้าคุณต้องการมองไปยังเรื่องต่าง ๆ ใน 10 ปีต่อจากนี้ ทุกเรื่องควรถูกหยิบขึ้นมาพูดคุยกัน” มาสเตอร์ส กล่าวในงาน Business of Football summit หลังถูกถามถึงโปรเจ็คต์นี้

“ตอนนี้เราเพิ่งถึงครึ่งทางของมัน เรามี 20 สโมสรในลีกมาตั้งแต่ปี 1995 มันเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยมในยุโรป ยกเว้นแค่บุนเดสลีกาที่มี 18 ทีมในลีก ซึ่งต่างจากรูปแบบของเรา”

“ตารางแข่งขันฟุตบอลอังกฤษอัดแน่นและเต็มไปด้วยเกมที่น่าตื่นเต้น มันเป็นสิ่งที่คุณต้องผ่านระหว่างการเดินทาง ณ ตอนนี้และในอนาคตอันใกล้ พรีเมียร์ลีกจะยังคงมี 20 ทีมเท่าเดิม”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.