Football Sponsored

โควิดทำวุ่น! ยูฟ่าพิจารณา8เมืองจัดเกม2ลิเวอร์พูลปะทะไลป์ซิก

Football Sponsored
Football Sponsored

สื่อดังรายงาน ยูฟ่า กำลังพิจารณาสนามกลางจาก 6 ประเทศเพื่อรองรับเกมเลกสองระหว่าง ลิเวอร์พูล กับ ไลป์ซิก ในศึกแชมเปี้ยนส์ ลีก ที่จะฟาดฟันกันในวันที่ 10 มี.ค. โดยงานนี้มีความเป็นไปได้อาจจะใช้สนามปุสกัน อารีน่า จัดแข่งอีกรอบ

           “ดิ แอธเลติก” สื่อดังระดับโลก รายงานว่าตอนนี้สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) กำลังพิจารณา 8 เมืองใน 6 ประเทศเพื่อที่จะใช้สำหรับรองรับเกมนัด 2 ระหว่าง ลิเวอร์พูล พบ แอร์เบ ไลป์ซิก ในศึกยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีก รอบ 16 ทีมสุดท้าย วันที่ 10 มีนาคมนี้

           “หงส์แดง” ซึ่งเอาชนะ ไลป์ซิก ในเกมแรกด้วยสกอร์ 2-0 เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา โดยพวกเขาต้องลงแข่งสนามกลางที่ ปุสกัส อารีน่า ในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี ขณะที่เลกสองตามโปรแกรมเดิมต้องไปแข่งในแอนฟิลด์ แต่ดูเหมือนอาจจะต้องเปลี่ยนแผน

           เนื่องจากทีมดังจากประเทศเยอรมนีอาจไม่สามารถเดินทางไปได้ เพราะติดมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ของรัฐบาลแดนไส้กรอกที่ระบุว่าพวกเขาไปประเทศอังกฤษ เมื่อกลับมายังเมืองเบียร์จะต้องทำการกักตัวเป็นเวลา 10 วัน ซึ่งส่งผลกระทบกับโปรแกรมในศึกบุนเดสลีกาของ ไลป์ซิก

            สำหรับกรณีนี้ “ดิ แอธเลติก” รายงานว่าตอนนี้ ยูฟ่า กำลังพิจารณา 8 เมืองที่จะนำไปใช้สำหรับเป็นสนามกลางในการแข่งเกม 2 ระหว่าง “หงส์แดง” กับ ไลป์ซิก โดยหนึ่งในนั้นก็คือสนามปุสกัส อารีน่า รวมทั้งสนามในประเทศอิตาลี และ โรมาเนีย ด้วย

           อย่างไรก็ตามการตัดสินใจเกี่ยวกับการหาสนามกลางในแมตช์นี้คาดว่าจะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า โดย องค์กรลูกหนังยุโรป จะมีการพูดคุยกับทั้งสองสโมสร และสมาคมฟุตบอลของพวกเขาเกี่ยวกับการหาทางออกในเรื่องนี้

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.