ขาดทุนก็ยอม เจ้าของ “เอฟเวอร์ตัน” ปักป้ายขายทีมสุดถูก หลังไร้กองเชียร์หนุนหลังแล้ว
วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม 2566 ซัน สปอร์ต สื่อกีฬาชื่อดังของอังกฤษ รายงานว่า ฟาร์ฮัด โมชิรี นักธุรกิจชาวอังกฤษเชื้อสายอิหร่าน เจ้าของทีมเอฟเวอร์ตัน ในศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ แสดงความต้องการที่จะขายสโมสรออกจากอ้อมอกแล้ว
ภายหลังจากที่ปลด แฟรงค์ แลมพาร์ด พ้นตำแหน่งผู้จัดการทีมแล้วเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กระแสการขับไล่ประธานสโมสรก็รุนแรงหนักขึ้นกว่าเก่า จากฟอร์มการเล่นที่ถดถอยของสโมสร ที่ปัจจุบันหล่นไปรั้งอันดับที่ 19 หรือรองบ๊วยของลีก มีแค่ 15 คะแนน จาก 20 เกมที่ผ่านมา และตามหลังโซนปลอดภัย 2 คะแนนด้วยกัน ส่อตกชั้น และทำให้แฟนบอลต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลง
ซึ่งมีรายงานว่า ฟาร์ฮัด โมชิรี ต้องการขายสโมสรเพียงแค่ 500 ล้านปอนด์ หรือราวๆ 2 หมื่นล้านบาท ให้กับใครก็ตามที่ต้องการอยากเป็นเจ้าของทีมคนใหม่ สามารถติดต่อได้ทันที.
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.