อยู่เฉยไม่ได้ ยูฟ่า เตรียมเคลื่อนไหวแรง หลัง “เชลซี” ช็อปกระจายใกล้ทะลุ 2 หมื่นล้าน
วันพุธที่ 25 มกราคม 2566 เดลี่ เมล สื่อกีฬาชื่อดังของอังกฤษ รายงานว่า สหพันธ์ฟุตบอลยุโรป หรือ ยูฟ่า เตรียมออกกฎการควบคุมการซื้อขายนักเตะในยุโรป ซึ่งมีรายงานว่าจะเริ่มต้นกันในฤดูกาลหน้าเป็นต้นไป
มีรายงานว่า ทีมอย่าง เชลซี ของ ท็อดด์ โบห์ลี ที่เพิ่งเข้ามาเป็นเจ้าของใหม่ได้ไม่กี่เดือน ใช้งบประมาณเสริมทัพไปแล้วสูงถึง 460 ล้านปอนด์ หรือราวๆ 1.8 หมื่นล้านบาท โดยเฉพาะ มิคไฮโล มูดริก ที่ไปเซ็นมาจาก ชัคตาร์ โดเน็ตส์ค ในยูเครน ด้วยราคา 88 ล้านปอนด์ หรือเกือบ 4,000 ล้านบาท พร้อมสัญญาถึง 8 ปีครึ่ง
ยิ่งไปกว่านั้นยังมีนักเตะอีกหลายคน ที่ซื้อเข้ามามีราคาสัญญาแพงๆ และนานเกินกว่าที่ ยูฟ่า กำหนดไว้ 5 ปี มากถึง 7 คน เลยทีเดียว ซึ่ง ยูฟ่า มองว่าการให้สัญญานานขนาดนั้นจะทำให้ทีมยังอยู่ในเกณฑ์ของ FFP หรือกฎไฟแนนเชียลแฟร์เพลย์ อย่างไรก็ตามนับจากนี้ ยูฟ่า เตรียมออกกฎมาควบคุมการซื้อขายนักเตะ ซึ่งจะเริ่มต้นในซีซั่นหน้าเป็นต้นไป
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.