Football Sponsored

แก้ปัญหาแนวรุก!เช็กผลงาน เวกฮอร์สต์ เทียบ2กองหน้า แมนยู

Football Sponsored
Football Sponsored

เช็กฟอร์มของ เว้าท์ เวกฮอร์สต์ ดาวยิงดัตช์ เทียบกับ มาร์คัส แรชฟอร์ด และ อองโตนี่ มาร์กซิยาล หลัง แมนฯ ยูไนเต็ด สนดึงมาเสริมทัพ

แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ตกเป็นข่าวว่า เตรียมที่จะยืมตัว เว้าท์ เวกฮอร์สต์ กองหน้าทีมชาติเนเธอร์แลนด์ มาใช้งานจนจบฤดูกาลนี้ หลัง เอริค เทน ฮาก กุนซือชาวดัตช์ ต้องการได้หัวหอกคนใหม่มาทดแทน คริสเตียโน่ โรนัลโด้ ที่เวลานี้ไปอยู่กับ อัล นาสเซอร์ สโมสรในลีกซาอุดีอาระเบีย แล้ว 

ฤดูกาลนี้ เวกฮอร์สต์ วัย 30 ปี ย้ายจาก เบิร์นลี่ย์ ไปเล่นให้ เบซิคตัส สโมสรในลีกตุรกี ด้วยสัญญายืมตัว และในฟุตบอลโลก 2022 ก็ทำผลงานได้น่าประทับใจ หลังลงมาเป็นตัวสำรองแล้วทำสองประตูช่วยให้ เนเธอร์แลนด์ ตามตีเสมอ อาร์เจนตินา 2-2 ก่อนที่สุดท้ายทัพ “อัศวินสีส้ม” จะไปแพ้ในการดวลจุดโทษ

สำหรับผลงานของ เวกฮอร์สต์ ในลีกซีซั่นนี้เมื่อเทียบกับ มาร์คัส แรชฟอร์ด และ อองโตนี่ มาร์กซิยาล สองกองหน้า “ปีศาจแดง” เป็นดังนี้

ประตู

เว้าท์ เวกฮอร์สต์ – 8

มาร์คัส แรชฟอร์ด – 7

อองโตนี่ มาร์กซิยาล – 3

แอสซิสต์

เว้าท์ เวกฮอร์สต์ – 4

มาร์คัส แรชฟอร์ด – 3

อองโตนี่ มาร์กซิยาล – 2

นาทีเฉลี่ยต่อประตู

อองโตนี่ มาร์กซิยาล – 138.6

เว้าท์ เวกฮอร์สต์ – 178.4

มาร์คัส แรชฟอร์ด – 193.0

นาทีเฉลี่ยต่อประตูหรือแอสซิสต์

อองโตนี่ มาร์กซิยาล – 83.2

เว้าท์ เวกฮอร์สต์– 118.9

มาร์คัส แรชฟอร์ด – 135.1

สร้างโอกาสเฉลี่ยต่อเกม

อองโตนี่ มาร์กซิยาล – 1.1

เว้าท์ เวกฮอร์สต์ – 1.1

มาร์คัส แรชฟอร์ด – 0.8

เลี้ยงผ่านคู่แข่งสำเร็จเฉลี่ยต่อเกม (เปอร์เซ็นต์สำเร็จ)

มาร์คัส แรชฟอร์ด – 1.4 (40%)

อองโตนี่ มาร์กซิยาล – 0.6 (35.3%)

เว้าท์ เวกฮอร์สต์ – 0.5 (41.6%)

ผ่านบอลเฉลี่ยต่อเกม (เปอร์เซนต์แม่นยำ)

อองโตนี่ มาร์กซิยาล – 25.3 (83.0%)

มาร์คัส แรชฟอร์ด – 25.1 (76.9%)

เว้าท์ เวกฮอร์สต์ – 18.7 (69.5%)

โอกาสยิงเฉลี่ยต่อเกม (ในเขตโทษ)

เว้าท์ เวกฮอร์สต์ – 3.3 (3.0)

มาร์คัส แรชฟอร์ด – 2.7 (2.1)

อองโตนี่ มาร์กซิยาล – 2.4 (2.2)

ที่มาของภาพ : Getty

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.