Football Sponsored

เอาอยู่แน่ “เทน ฮาก” เผย “ซานโช” แนะวิธีหยุด “ฮาลันด์” ก่อนเกม แมนยูฯ-แมนฯ ซิตี้

Football Sponsored
Football Sponsored

วันที่ 2 ตุลาคม 2565 เอริค เทน ฮาก ผู้จัดการทีมแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ให้สัมภาษณ์ก่อนเกมพรีเมียร์ลีก อังกฤษ คู่เอกประจำสัปดาห์นี้ ในศึกแมนเชสเตอร์ดาร์บีแมตช์ ครั้งที่ 188 ซึ่ง แมนเชสเตอร์ ซิตี้ รองจ่าฝูง มี 17 คะแนน จะเปิดบ้านต้อนรับ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด อันดับ 6 มี 12 คะแนน คืนนี้ 20.00 น. เวลาประเทศไทย

เทน ฮาก เผยว่าเขาได้ทำการบ้านมาเป็นอย่างดี เพื่อให้ แมนยูฯ สามารถรับมือกับ แมนฯ ซิตี้ ได้ โดยเฉพาะการจัดการ เออร์ลิง ฮาลันด์ ดาวยิงตัวฉกาจของคู่แข่งที่ซัดไปแล้วถึง 14 ประตูจาก 10 นัดรวมทุกรายการ นับตั้งแต่ย้ายมาจาก โบรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ในช่วงซัมเมอร์นี้ ซึ่งก็ได้ เจดอน ซานโช ปีกตัวเก่งที่เคยเล่นด้วยกันในศึกบุนเดสลีกา เยอรมัน กับทีม “เสือเหลือง” คอยบอกวิธีหยุดยั้งหัวหอกรายนี้ให้

ทั้งนี้ ซานโช เคยเป็นคู่หูที่รู้ใจของ ฮาลันด์ สมัยอยู่กับ ดอร์ทมุนด์ ซึ่งก็ได้เล่นร่วมกันเป็นเวลา 18 เดือน ระหว่างปี 2020-2021 และช่วยกันทำประตูได้รวมกัน 81 ลูก (ฮาลันด์ 58 ประตู, ซานโช 23 ประตู)

ด้าน เทน ฮาก พูดถึงการปรึกษากับ ซานโช เพื่อหาทางหยุดยั้ง ฮาลันด์ ในเกมนี้ว่า “นี่เป็นหน้าที่ของเราในฐานะสตาฟฟ์โค้ชที่ต้องวางแผนล่วงหน้าเพื่อหาทางจัดการผู้เล่นอย่าง ฮาแลนด์ ถ้านักเตะแต่ละคนมีส่วนกับเกมเป็นอย่างมาก เราก็ต้องวิเคราะห์พวกเขาเหล่านั้น”

“แต่แน่นอนว่าคุณต้องปรึกษากับผู้เล่นของคุณเช่นกัน และเมื่อมีคนที่เคยเล่นกับนักเตะของทีมคู่แข่งคนใดคนหนึ่ง เช่น ซานโช กับ ฮาลันด์ คุณก็ต้องไปถามเขา”

ส่วนประเด็นที่ ฮาลันด์ เคยมีข่าวกับ แมนยูฯ ก่อนปฏิเสธย้ายมาร่วมงานและเลือก แมนฯ ซิตี้ แทน เทน ฮาก ตอบว่า “ผมไม่เสียดาย เพราะเรามีผู้เล่นที่มีศักยภาพพอที่จะเป็นนักเตะที่ดีที่สุดและบางคนก็มีอยู่แล้ว เรามีแชมป์โลก (ราฟาเอล วาราน) และผู้เล่นที่ได้แชมป์ระดับสูงสุดมามากมาย (คาเซมิโร, คริสเตียโน โรนัลโด) ดังนั้นคุณสามารถพูดได้ว่าพวกเขาเก่งที่สุดในโลก”

“ในตลาดนักเตะที่ผ่านมา ผมได้ติดต่อผู้เล่นหลายคนที่รู้สึกว่า แมนยูฯ เป็นสโมสรที่น่าดึงดูดสำหรับพวกเขาจริงๆ ผมจึงไม่กังวลเกี่ยวกับ ฮาลันด์”

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.