Football Sponsored

คุ้มสักนิดมั้ย?เผยค่าปลด รังนิก แมนยูต้องสูญเงินมหาศาล

Football Sponsored
Football Sponsored

แมนฯ ยูไนเต็ด ทีมดังของ พรีเมียร์ลีก โดนแฉยับว่าหมดเงินไปมากถึง 15 ล้านปอนด์ (ราว 636 ล้านบาท) ต่อการปลด ราล์ฟ รังนิก อดีตนายใหญ่ขัดตาทัพออกจากสโมสร ทั้งๆที่กุนซือขรัวเฒ่าทำงานได้แค่หกเดือนเท่านั้น

แมนฯ ยูไนเต็ด ตัดสินใจแต่งตั้ง รังนิก นายใหญ่ขาวเมืองเบียร์ให้รับภาระแทน โอเล่ กุนนาร์ โซลชา เมื่อเดือนพ.ย.2021 และแม้อดีตโค้ชทีม แอร์เบ ไลป์ซิก จะมีสัญญาเป็นที่ปรึกษาของสโมสรอีกสองปี แต่เจ้าตัวตัดสินใจอำลา โรงละครแห่งความฝัน อย่างถาวรหลังจบซีซั่นที่ผ่านมาเพื่อหันไปกุมบังเหียนทีมชาติ ออสเตรีย

ต่อกรณีดังกล่าว คีแรน แม็กไกวร์ ผู้สื่อข่าวระบุเมื่อ 22 ก.ย.ว่า ผีแดง จ่ายค่าชดเชยให้กับ รังนิก และทีมงานสตาฟฟ์ของเขาสูงถึงเลขแปดหลักดังกล่าว ก่อนหันไปดึง เอริค เทน ฮาก กุนซือคนเก่งของ อาแจ็กซ์ ให้ย้ายมานั่งเก้าอี้แทน

นอกจากรังนิก แล้ว ผีแดง ยังต้องจ่ายค่าชดเชยให้กับ โซลชา เช่นกันโดยในรายของอดีตกุนซือชาว นอรเวย์ สโมสรเผยเองว่าควักให้เขากับทีมงานรวมเป็นเงิน 9.7 ล้านปอนด์ (ราว 411 ล้านบาท) โดยอดีตศูนย์หน้าซูเปอร์ซับรับทรัพย์เข้ากระเป๋า 7.5 ล้านปอนด์ (ราว 318 ล้านบาท) และหากจะเทียบกับตัวเลขที่ทีมจาก โอลด์ แทรฟฟอร์ด ระบุเองเสร็จสรรพว่าหมดเงินกับการปลดสองนายใหญ่เป็นเงินรวมกัน 24.7 ล้านปอนด์ (ราว 1,048 ล้านบาท) ก็หมายความว่าพวกเขาหมดเงินไปกับ รังนิก และทีมงานสูงถึง 15 ล้านปอนด์ 

จากตัวเลขดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่า แมนฯ ยูไนเต็ด ตัดสินใจพลาดอย่างแรงที่ฉุดกุนซือตกยุคซึ่งระยะหลังรับตำแหน่งผู้อำนวยการกีฬาเป็นหลักมาคุมทีม และไม่อาจคว้าโควต้าถ้วย แชมเปี้ยนส์ลีก ได้จากการจบอันดับหกเมื่อซีซั่นที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี คาดว่าผลประกอบการหนต่อไปหลังจบซีซั่นนี้ของ ผีแดง อาจขาดทุนเพิ่มอีกก็เป็นได้เนื่องจากสโมสรลงทุนให้ เทน ฮาก เสริมทัพในช่วงซัมเมอร์แบบไม่ยั้งรวมเป็นเงิน 216 ล้านปอนด์ (ราว 9,164 ล้านบาท)

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.