Football Sponsored

ก้านบัวบอกลึกตื้น ชลธาร! สโมสรแรกซาลาห์ฟาดโบห์ลีย์ ‘นั่นเด็กปั้นเรา’ | Goal.com ภาษาไทย

Football Sponsored
Football Sponsored

อดีตสโมสรแรกของแนวรุกชาวอียิปต์ถึงกับงง ในสิ่งที่เจ้าของทีมคนใหม่ของทัพสิงห์บลูส์อ้างว่าสตาร์ดังหงส์แดงคือผลผลิตของพวกเขา

อัล โมคาวลูน สโมสรแรกของ โมฮาเหม็ด ซาลาห์ ได้ทำการตอบโต้ถึง ท็อดด์ โบห์ลีย์ ที่ดันไปกล่าวอ้างว่าแข้งรายนี้เป็นเด็กปั้นของ เชลซี

แนวรุกชาวอียิปต์ เคยค้าแข้งในถิ่น สแตมฟอร์ด บริดจ์ ช่วงปี 2013-2015 กระทั่งช่วงต้นปี 2015 ก็โยกไปเล่นให้ฟิออเรนตินาแบบยืมตัว ตามด้วยไปเล่นให้โรมาแบบยืมตัวเช่นกันในช่วงซัมเมอร์ปีเดียวกัน ก่อนจะย้ายไปโรมาด้วยสัญญาถาวรในปี 2016

ขณะเดียวกัน เจ้าตัวไม่ใช่นักเตะที่ขึ้นมาจากอะคาเดมีค็อปแฮมของเชลซีแต่อย่างใด เพราะย้ายมาจากเอฟซี บาเซิล ทีมในสวิตเซอร์แลนด์ รวมถึงสโมสรแรกจริง ๆ ของเขาก็คือทีมในอียิปต์บ้านเกิดอย่าง อัล โมคาวลูน อีกด้ว แต่เจ้าของใหม่ของเชลซีอย่าง โบห์ลีย์ ดูเหมือนจะไม่รู้ถึงข้อเท็จจริงเรื่องนี้

“เรามีสถาบันอะคาเดมีที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งในโลก ถ้าคุณดูถึงผลผลิตที่พวกเราพัฒนาพวกเขาขึ้นมา ผมจะยกตัวอย่างเช่น โม ซาลาห์, เดอ บรอยน์ และล่าสุด แทมมี อับราฮัม, รีซ เจมส์, เมสัน เมาท์ และ เทรโวห์ ชาโลบาห์” ท็อดด์ โบห์ลีย์ ให้สัมภาษณ์กับ SALT

ด้วยเหตุนี้ สโมสรแรกของ ซาลาห์ จึงได้ออกมาตอบโต้ความเข้าใจผิดของ โบห์ลีย์

“สิ่งที่เจ้าของคนใหม่ของเชลซีพูดนั้นแสดงให้เห็นถึงการขาดความเข้าใจว่า โมฮาเหม็ด ซาลาห์ คือความภาคภูมิใจของพวกเรา สโมสร อัล โมคาวลูน และฟุตบอลอียิปต์ และพวกเรารู้สึกเป็นเกียรติที่เขาเป็นหนึ่งในลูกชายของเราที่คนทั้งโลกรู้จักเขา และรู้ความเป็นมาของเขาว่าเริ่มต้นมาอย่างไร แต่ดูเหมือนว่าเจ้าของเชลซีจะเป็นคนเดียวในโลกที่ไม่รู้ที่มานี้” แถลงการณ์จากสโมสร อัล โมคาวลูน

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.