ผอ.กองส่งเสริมพัฒนากีฬาอาชีพรุดเยี่ยมยช.ไทยฝึกซ้อมฟุตบอลซัปโปโร
ณัฐพล อันตรเสน ผอ.กองส่งเสริมพัฒนากีฬาอาชีพ เข้าเยี่ยมชมการฝึกซ้อมของนักเตะเยาวชนไทย ในโครงการ “สร้างโอกาสให้นักกีฬาฟุตบอลเยาวชนสู่อาชีพต่อยอดสู่ความสำเร็จในระดับนานาชาติ” ที่สนามฝึกซ้อมฟุตบอล ซัปโปโรโดม เมืองซัปโปโร ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันจันทร์ที่ 5 กันยายน ที่ผ่านมา
โดยการเยี่ยมชมในครั้งนี้ มีทางด้าน จิโร่ คิตาฮะระ หัวหน้าผู้ฝึกสอน อะคาเดมี่ สโมสร ฮอกไกโด คอนซาโดเล่ ซัปโปโร คุมทีมการฝึกซ้อมของนักเตะเยาวชนไทย สำหรับโครงการนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย ร่วมกับสโมสร ฟุตบอลคอนซาโดเล่ ซัปโปโร ทีมในเจลีก จัด “โครงการสร้างโอกาสให้นักกีฬาเยาวชนสู่การแข่งขันกีฬาอาชีพในระดับนานาชาติ ต่อยอดสู่ความสำเร็จในระดับนานาชาติ” YOUTH ELITE DEVELOPMENT PROGRAM พา 22 นักเตะเยาวชนไทย บินลัดฟ้าเก็บเกี่ยวประสบการณ์ลูกหนังสโมสรระดับลีกอาชีพประเทศญี่ปุ่น
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.