Football Sponsored

มีทั้งดีและไม่ดี ส่องผลงาน 5 ตำนานแมนยูฯ ผู้ครองเสื้อเบอร์ 18 ก่อน “คาเซมิโร”

Football Sponsored
Football Sponsored

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม 2565 ความเคลื่อนไหวก่อนเกมที่ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด จะลงเล่นเกมที่ 4 ของศึก พรีเมียร์ลีก ในช่วงเย็นวันนี้โดยจะบุกไปเยือนถิ่นของ เซาแธมป์ตัน ในช่วงเวลา 18.30 น. ตามเวลาประเทศไทย และเป็นคู่แรกของสัปดาห์นี้

เกมนี้ได้รับการคาดการณ์ว่าจะเป็นเกมแรกที่ คาเซมิโร นักเตะใหม่ของ “ปิศาจแดง” ลงเล่นให้กับทีมใหม่เป็นครั้งแรกในเกมนี้ โดยการย้ายมาครั้งนี้เจ้าตัวเลือกที่จะใช้เบอร์ 18 ในการรับใช้ทีมในซีซั่นนี้เป็นต้นไป

ซึ่งนับตั้งแต่มีการระบุเบอร์เสื้อที่ชัดเจนของ พรีเมียร์ลีก คาเซมิโร เป็นนักเตะคนที่ 6 ที่ใช้เบอร์ 18 โดยก่อนหน้านี้ จะมีนักเตะ 5 คน ประกอบไปด้วย ดาร์เรน เฟอร์กูสัน ลูกชายหัวแก้วหัวแหวนของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน อดีตกุนซือตำนานของทีม และ ไซมอน เดวีส ระหว่างปี 1993-1995 

หลังจากนั้น พอล สโคลส์ เลี้ยงดูเบอร์ 18 มานานถึง 15 ปี จนกระทั่งฤดูกาล 2010-11 ก่อนที่จะมาเป็นของ แอชลีย์ ยัง อีก 9 ฤดูกาลติดต่อกัน และคนล่าสุดคือ บรูโน เฟอร์นันเดส อีก 3 ปี ก่อนที่เจ้าตัวจะไปใช้เบอร์ 8 ในปีนี้ และทำให้เบอร์ 18 ว่างลง 

สถิติของ 5 นักเตะที่ใส่เบอร์ 18 ของ “ปิศาจแดง”

ดาร์เรน เฟอร์กูสัน 1990-1993 ลงสนาม 28 เกม 0 ประตู 0 แอสซิสต์ 

ไซมอน เดวีส 1992-1997 ลงสนาม 17 เกม 1 ประตู 0 แอสซิสต์

พอล สโคลส์ 1994-2013 ลงสนาม 714 เกม 153 ประตู 75 แอสซิสต์ 

แอชลีย์ ยัง 2011-2020 ลงสนาม 261 เกม 19 ประตู 43 แอสซิสต์ 

บรูโน เฟอร์นันเดส 2020-ปัจจุบัน ลงสนาม (นับช่วงใส่เบอร์ 18) 126 เกม 50 ประตู 39 แอสซิสต์ 

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.