ดีล “แมนยูฯ-คาเซมิโร” ทำลีกทุบสถิติตลาดซื้อขายตลอดกาลแม้มี 1 ทีมไม่ใช้เงินสักบาท
วันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2565 ซัน สปอร์ต สื่อกีฬาชื่อดังของอังกฤษ รายงานว่า ดีลของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด ที่ยื่นซื้อทาง คาเซมิโร มิดฟิลด์ตัวตัดเกมชื่อดังจาก เรอัล มาดริด มาร่วมทีมในซัมเมอร์นี้ ถือเป็น 1 ในดีลประวัติศาสตร์ที่นำพา พรีเมียร์ลีก อังกฤษ ทุบสถิติตลาดซื้อขายนักเตะเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
หากนับรวม 20 ทีมใน พรีเมียร์ลีก ซีซั่นนี้ ใช้เงินกันไปแล้วสูงถึง 1.54 พันล้านปอนด์ หรือราวๆ 6.5 หมื่นล้านบาท นั้นเองและเป็นการทุบสถิติซื้อขายแพงสุดของลีกหลังเคยทำไว้ที่ 1.43 พันล้านปอนด์ เมื่อปี 2017 ยิ่งไปกว่านั้นสถิติที่เพิ่งทำได้มีเพียง 19 ทีมในลีกเท่านั้นที่ซื้อขายนักเตะ
ทีมที่ไม่ซื้อขายแม้แต่ปอนด์เดียวในซีซั่นนี้ นั้นก็คือ เลสเตอร์ ซิตี้ ที่แม้จะมีเสริมทัพแต่เป็นการเซ็นฟรีทั้งสิ้น และทีมไม่ใช้เงินเลยตลอดตลาดซัมเมอร์ที่ผ่านมา ส่วนทีมที่ใช้เยอะสุดๆ คือ เชลซี ที่ 179.1 ล้านปอนด์ หรือราวๆ 7.5 พันล้านบาท นั่นเอง
ฟุตบอลฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง
This website uses cookies.