Football Sponsored

'วรงค์' แจง 'ไทยลีก' เพิ่ม 18 ทีมยาก ชี้ 'อีสาน' รับสิทธิต่อ 'ศรีสะเกษ' ไม่ง่ายด้วย

Football Sponsored
Football Sponsored

‘วรงค์’ แจง ‘ไทยลีก’ เพิ่ม 18 ทีมยาก ชี้ ‘อีสาน’ รับสิทธิต่อ ‘ศรีสะเกษ’ ไม่ง่ายด้วย

จากกรณีที่ศาลปกครองอุบลราชธานี ศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาให้สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ คืนสิทธิ ทีมฟุตบอล ศรีสะเกษ เอฟซี ให้ทีม อีสาน ยูไนเต็ด และชดใช้ค่าเสียหายให้ อีสาน ยูไนเต็ด เป็นจำนวนเงิน 18.5 ล้านบาท

ประเด็นนี้ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าทีมอีสาน ยูไนเต็ด จะกลับมาลงเล่นในลีกใด เมื่อตอนที่ถูกดึงสิทธิคืนกลับไปนั้นทีมอยู่ในลีกสูงสุด แต่ตอนนี้ศรีสะเกษ เอฟซี ตกลงไปอยู่ในระดับไทยลีก 3 แล้ว ท่ามกลางข่าวลือว่าจะมีการเพิ่มทีมในไทยลีกเป็น 17 หรือ 18 ทีมในฤดูกาลที่จะมาถึง

เกี่ยวกับประเด็นนี้ นายวรงค์ ทิวทัศน์ เลขานุการฝ่ายจัดการแข่งขัน บริษัท ไทยลีก จำกัด เปิดเผยว่า การจะเพิ่มทีมในไทยลีก 1 ให้เป็น 18 ทีมนั้นถือว่าเป็นเรื่องยากมากๆ ต้องมีการวางแผนกันล่วงหน้าเป็นปี เพราะมีหลายส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งลิขสิทธิ์, การจัดสรรงบประมาณ, ผู้ตัดสิน เป็นต้น รวมถึงต้องมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพูดคุยกันอีก ฉะนั้นไม่น่าเป็นไปได้แน่นอน

เมื่อถามต่อถึงเรื่องของอนาคตของทีม อีสาน ยูไนเต็ด นั้น นายวรงค์ แสดงความคิดเห็นส่วนตัวในฐานะที่คร่ำหวอดในวงการฟุตบอลระดับสโมสรว่า การจะกลับมาเล่นในลีกสูงสุดทันทีเป็นเรื่องยาก เนื่องจากปัจจุบันฟุตบอลสโมสรของประเทศไทย มีการทำระบบคลับไลเซนซิ่ง และช่วงเวลาของการยื่นขอคลับไลเซนซิ่งนั้นได้หมดลงไปแล้ว จึงไม่สามารถให้ส่งเรื่องได้ในตอนนี้ นอกจากนี้กฎระเบียบของฟุตบอลไทยเมื่อเทียบกับ 10 ปีก่อนนั้นเปลี่ยนแปลงไปเยอะมาก ฉะนั้นถ้าอีสาน ยูไนเต็ด จะกลับมาแข่งขันก็จะต้องดำเนินตามกฎปัจจุบันที่วางกันไว้

ส่วนกรณีที่อีสาน ยูไนเต็ด จะลงเล่นในไทยลีก 3 ฤดูกาลที่จะมาถึงทำได้หรือไม่นั้น นายวรงค์ กล่าวว่า สามารถทำได้แต่จะต้องเป็นการลงแข่งขันในชื่อของศรีสะเกษ เอฟซี เนื่องจากได้มีการส่งคลับไลเซนซิ่งไปหมดแล้ว ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้ ไม่ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ทีม, ชื่อทีม, สนามแข่งขัน, สีประจำทีม เป็นต้น ขณะเดียวกันหลังจากจบฤดูกาลถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลง ก็ไม่ใช่ว่าจะทำได้เพราะว่าปัจจุบันจะต้องมีการผ่านคณะกรรมการคลับไลเซนซิ่ง ที่ปัจจุบันมีกฎห้ามย้ายถิ่นฐาน เนื่องจากไม่ต้องการให้มีการย้ายถิ่นฐานบ่อยๆ จากที่ผ่านมาให้เปลี่ยนโดยไม่มีหลักการจนส่งผลกระทบแบบนี้

“ถ้าหากจะขอตั้งเป็นทีมใหม่เลย เพื่อจะไม่ต้องใช้ชื่อศรีสะเกษ เอฟซี นั้น ก็จะต้องไปเริ่มเล่นจากอเมเจอร์ลีก (ลีกกึ่งอาชีพ) ก่อน ค่อยไต่ระดับกลับขึ้นมา แต่ถ้าหากจะใช้สิทธินี้ ต้องว่ากันไปตามระเบียบ อนาคตจะย้ายก็ต้องว่ากันอีกเรื่องหนึ่ง อยู่ที่คณะกรรมการคลับไลเซนซิ่งที่จะต้องส่งเรื่องให้กับเอเอฟซี (สมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย) พิจารณาอีกครั้ง เพราะตอนนี้สโมสรไทยลีก 1-3 อยู่ในเอเอฟซีคลาสหมดแล้ว” นายวรงค์กล่าว

ทั้งนี้ นายวรงค์ ทิ้งท้ายว่าสิ่งที่กล่าวมาเป็นเพียงความเห็นส่วนตัวเท่านั้น ส่วนเรื่องนี้จะออกมาในรูปแบบใดเป็นเรื่องที่สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และบริษัท ไทยลีก จำกัด รวมถึงสโมสรอีสาน ยูไนเต็ด จะต้องพูดคุยพิจารณากันต่อไป

Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.