Football Sponsored

อีกก้าวที่ท้าทาย “นิธิชัย แช่มช้อย” อดีตนักเตะสู่เจ้าของอะคาเดมี่

Football Sponsored
Football Sponsored

ย้อนหลังไปราว 10 กว่าปีที่ผ่านมาชื่อของนักเตะนามว่า มารุต แช่มช้อย หรือที่วันนี้เปลี่ยนเป็น นิธิชัย แช่มช้อย น่าจะพอคุ้นหู แฟนบอลในฐานะพ่อค้าแข้ง เป็นนักเตะที่เคยผ่านสมรภูมิลูกหนังอาชีพเมืองไทยมาแล้ว กับหลายสโมสร

     ทั้งโอสถสภาฯที่เล่นตั้งแต่เยาวชน ได้แชมป์ถ้วยพระราชทาน ก. 2 สมัย , ถ้วยพระราชทานควีนสคัพ กับ “ห้างขายยา” ถึง 3 สมัย และยังเคยเล่นฟุตบอลชิงแชมป์สโมสรเอเซีย อย่าง เอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก และ เอเอฟซีคัพ กับ โอสถฯ มาแล้ว   

    นอกจากนี้ยังเคยเล่นกับ ตำรวจ, เมืองทอง ยูไนเต็ด , ภูเก็ต เอฟซี , อยุธยา เอฟซี ,ศุลกากร ยูไนเต็ด ,กระบี่ฯ , ราชวิถี  

     เมื่อวันเวลาเปลี่ยนไป จากการเป็นนักเตะเลี้ยงชีพตัวเองและครอบครัวก็ต้องผันตัวเองมาทำทีมอาชีพใหม่ ซึ่งแน่นอนว่า ยังคงอยู่ในแวดวงกลิ่นสาปลูกหนัง  

    ที่อดีตนักเตะหลายๆคนใช้เป็นช่องทางทำมาหากินโดยนำวิชาความรู้ที่ตัวเองมีอยู่จากการเป็นนักเตะมาก่อนมาทำอะคาเดมี่ลูกหนัง  

    ทั้งๆที่มีวุฒิการศึกษา ทั้งปริญญาตรี จาก ม.ศรีปทุม , ป.โท จาก ม.ธุรกิจฯ แต่ นิธิชัย แช่มช้อย เลือกจะทำในสิ่งที่ตัวเองรักและถนัดไม่ต้องการเป็นมนุษย์เงินเดือน เป็นนายตัวเองด้วยการทำธุรกิจ อะคาเดมี่ ชื่อ ภูริ อะคาเดมี่ ซึ่งถือเป็นสถาบันสอนลูกหนังอีกแห่งที่ประสพความสำเร็จ มีหลายสาขา ทั้งที่ ราชบุรีฯ , นครปฐม  

        โดยเจ้ารุต นั้นเคยเป็นโค้ชของ ราชวิถี เอฟซี,เดฟโฟ เอฟซี มาแล้ว นอกจากที่มีดีกรีโค้ช ซีไลน์เซนส์ ติดตัวแล้ว ยัง เป็นโค้ชเยาวชนสโมสร ผ่านการเรียนโค้ชสำหรับเยาวชน ระดับสูง สโมสรบาเยิร์น มิวนิค 

    เคยเป็นวิทยากร ของกรมพลศึกษา ในการอบรมโค้ช ระดับ ทีไลน์เซนส์ และทำทีมเยาวชนให้กับ สโมสร นครปฐม ยูไนเต็ด มาก่อนหน้านี้  

    เหมือนทางที่ นิธิชัย แช่มช้อย เลือกจะได้ไปสวย กับการทำสถาบันสอนลูกหนัง อย่าง ภูริอะเดมี่ ที่เจ้าตัวทำมาแล้ว 7 ปี โดยที่ผ่านมา ใช้การเช่าสนามของคนอื่นๆเป็นที่สอนแต่เร็วๆนี้ เจ้าตัว จะทำสนามของตัวเอง ที่จะเป็นสนามหญ้าจริง,หญ้าเทียม ที่ใช้เป็นสถานที่สอนของตัวเอง ที่จะเป็นลักษณะ แคมป์ลูกหนัง ชื่อ Phuri FC , Phuri Football Camp Training Ratchaburi อันเป็นบ้านเกิดของเจ้าตัว 

    ผลงานที่ประจักษ์และเป็นที่ยอมรับทำให้ล่าสุด ภูริ อะคาเดมี่ ที่นอกจากจะมี นิธิชัย แช่มช้อย เป็นเจ้าของแล้ว ยังมีโค้ชระดับโปร์ไลน์เซนส์ ฝีมือดีอย่าง อรุณ ตุลย์วัฒนางกูร เป็นทีมงานในฐานะแม่ทัพใหญ่ ในการสอนให้ด้วย ในฐานะประธานเทคนิคของอะคาเดมี่  

    ได้รับวางใจจากบอร์ดบริหารทีม โปลิศเทโร เอฟซี ทีมในไทยลีก 1 ให้ไปทำทีมเยาชนให้กับทีม “มังกรโล่ห์เงิน”  

    โดยได้มีการทำ เอ็มโอยู ร่วมกัน เมื่อ 13 มี.ค. 2564 ที่ผ่านมา ณ ห้องแถลงข่าวสโมสร โปลิศเทโรฯ สนามบุญยะจินดา โดย ทีมงานภูริ อะคาเดมี่ จะได้ทำทีม 3 รุ่นอายุคือ  10,12,13 ปี  

    เพื่อทำทีมเยาวชนให้ โปลิศเทโรฯ ลงแข่งขัน รายการระดับเยาวชน 2 รายการที่รออยู่ ไม่ว่าจะเป็น ช้าง จูเนียร์ คัพ , ไทย ยูธลีก   

    เร็วๆนี้จะได้เห็นผลงานของเหล่า เยาวชนของ โปลิศ เทโรฯ โชว์วาดลวดลายจากการรังสรรค์ของทีมงาน นิธิชัย แช่มช้อย แน่นอน แล้วมารอดูกันว่า ผลงานในการร่วมมือกันของ 2 องค์กรจะออกมาดีขนาดไหน กับ เวทีเยาวชน 2 รายการใหญ่ที่รออยู่เร็วๆนี้

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.