Football Sponsored

หนามยอกเอาหนามบ่ง! เซลติกประกาศไม่ตั้งแถวเกียรติยศรับเรนเจอร์ส

Football Sponsored
Football Sponsored

จอห์น เคนเนดี้ กุนซือขัดตาทัพกลาสโกว์ เซลติก ยืนยันสโมสรจะไม่มีการตั้งแถวเกียรติยศต้อนรับ เรนเจอร์ส ในฐานะแชมป์ลีก แมตช์ที่จะปะทะกันในสุดสัปดาห์นี้ โดยเหตุผลเพราะคู่อริร่วมเมืองก็เคยทำแบบนี้เช่นกันเมื่อปี 2019

    กลาสโกว์ เซลติก ประกาศชัดเจนจะไม่มีการตั้งแถวเกียรติยศให้กับ เรนเจอร์ส ในฐานะแชมป์สกอตติช พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2020/2021 ในเกมลีก “โอลด์เฟิร์ม ดาร์บี้แมตช์” ที่จะฟาดแข้งกันในวันอาทิตย์ที่ 21 มีนาคมนี้

    “เดอะ ไลท์บลูส์” ผงาดคว้าแชมป์ลีกสูงสุดประเทศสกอตแลนด์อย่างเป็นทางการแล้ว  หลังพวกเขาเปิดบ้านถล่ม เซนต์ เมียร์เรน 3-0 เมื่อวันเสาร์ 6 มี.ค.64 ในขณะที่ เซลติก ทำได้แค่ออกไปเสมอกับ ดันดี ยูไนเต็ด 0-0 ในอีก 1 วันถัดมา ทำให้ เรนเจอร์ส มีคะแนนนำขาดคู่อริร่วมเมืองถึง 20 คะแนน

    นอกจากจะเป็นการคว้าแชมป์ลีกสมัยแรกของพวกเขาในรอบหนึ่งทศวรรษหรือนับตั้งแต่ปี 2011 แล้ว ยังเป็นการยุติความยิ่งใหญ่ของ “ม้าลายเขียว-ขาว” ที่ครองบัลลังก์เบอร์หนึ่งมาตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยกวาดแชมป์ถึง 9 ปีติดต่อกัน

    สำหรับในเกมดาร์บี้แมตช์สุดสัปดาห์นี้ที่สนามเซลติก พาร์ค เจ้าบ้านประกาศชัดเจนว่าจะไม่มีการตั้งแถวเกียรติยศเพื่อปรบมือเป็นเกียรติให้กับ เรนเจอร์ส ในฐานะแชมป์ใหม่ โดยเป็นการตอบโต้จากกรณีที่ “เดอะ ไลท์บลูส์” ก็เคยทำแบบนี้เช่นกันตอนที่ เซลติก บุกมาเยือน ไอบร็อกซ์ พาร์ค ในฐานะแชมป์ลีกเมื่อปี 2019 

    ขณะเดียวกันช่วงที่ผ่านมามีความกังวลเกี่ยวกับกรณีที่แฟนบอลเรนเจอร์ส อาจจะฝ่าฝืนกฎล็อกดาวน์ออกมาฉลองความสำเร็จในแมตช์นี้ ทำให้มีโอกาสที่จะเลื่อนโปรแกม แต่ล่าสุดรัฐบาลสกอตแลนด์ ยืนยันให้มีการจัดการแข่งขันตามเดิม

อีกหนึ่งช่องทางในการติดตามข่าวสาร
Add friend ที่ @Siamsport
Football Sponsored
ฟุตบอล

ฟุตบอลเป็นกีฬาที่นิยมเล่นมากที่สุดในประเทศไทย โดยเริ่มเข้ามาในประเทศไทยในช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 ในปี พ.ศ. 2440 และฟุตบอลทีมชาติไทยได้ร่วมเป็นสมาชิกฟีฟ่า เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2468 นับว่าเป็นประเทศแรกของโซนเอเชียที่เป็นสมาชิกฟีฟ่า แต่เป็นทีมที่ในอดีตไม่ประสบความสำเร็จในระดับไหนเลย แต่ได้เข้าร่วมเป็นเจ้าภาพเอเชียนคัพ 2007 ในอดีตประเทศไทยไม่ค่อยสนับสนุนนักฟุตบอลอาชีพนัก นักเตะจึงนิยมไปค้าแข้งกับประเทศอื่นที่มีการสนับสนุนดีกว่า แต่หลังจากปี พ.ศ. 2552 ฟุตบอลอาชีพไทยเริ่มตื่นตัว เนื่องจากสมาพันธ์ฟุตบอลเอเชียตั้งกฎข้อบังคับให้แต่ละสโมสรจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล แต่มีสโมสรองค์กร รัฐวิสาหกิจ ปรับตัวไม่ได้ จึงต้องมีการยุบทีมทิ้ง หรือขายทีมไป หลังจากไทยพรีเมียร์ลีก 2552 เริ่มขึ้น แฟนบอลเริ่มเข้ามาชมเกมส์ในสนามมากขึ้น เงินเดือนนักเตะสูงขึ้น การจัดการของแต่ละสโมสรดีขึ้น ลีกไทยค่อย ๆ พัฒนาเป็นระดับ ส่งผลทำให้นักฟุตบอลที่เคยไปค้าแข้งต่างแดนกลับมายังประเทศไทย เนื่องจากค่าตอบแทนไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ผลงานทีมชาติกลับสวนทางเพราะว่าต้องใช้เวลาปรับตัว เนื่องจากยุคที่ลีกบ้านเรายังไม่เจริญนักฟุตบอลมีเวลาเตรียมทีมเยอะ แต่ปัจจุบันแทบจะไม่ค่อยมีเวลาเพราะสโมสรเรียกเก็บตัวซ้อมเพื่อการแข่งขัน นักเตะจึงต้องใช้เวลาปรับตัว แต่ถือว่าฟุตบอลของประเทศไทยพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เพราะหลังจากนั้นเพียง 2 ปี แฟนบอลหันมาเชียร์ทีมในจังหวัดตัวเองมากขึ้น ทีมกระจายไปยังต่างจังหวัดมากขึ้น ส่งผลทำให้เกิดท้องถิ่นนิยม จึงเป็นที่มาที่แฟนบอลไทยเข้าไปชมเกมฟุตบอลลีกดิวิชั่น 1 และดิวิชั่น 2 มากขึ้นนั่นเอง

This website uses cookies.